การส่งสัญญาณโทรทัศน์
1 การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
การแพร่กระจายสัญญาณไปในอากาศเมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่ 30-300 MHzจะเป็นช่วงคลื่นความถี่สูงมาก (Very high Frequency: VHF) และช่วงความถี่ 300-3000 MHz จะเป็นช่วงของความถี่สูง (Ultra high Frequency: UHF)
2 การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านช่องนำสัญญาณ
การส่งสัญญาณไปตามสายหรือช่องนำสัญญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ ซึ่งต่างจากการแพร่กระจายคลื่นด้วยความถี่วิทยุที่ไม่จำกัดผู้รับ การส่งสัญญาณนี้จะผ่านสายนำสัญญาณพิเศษแบ่งออกเป็น การส่งสัญญาณผ่านสายหรือความถี่เฉพาะชุมชน การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทั้งที่แพร่กระจายคลื่นทั่วไปและบอกรับสมาชิกและโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต (IPTV) เป็นต้น
ย่านความถี่การส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทย
ในปีพ.ศ.2550 ประเทศไทยใช้ระบบโทรทัศน์ PAL ซึ่งแบ่งแถบคลื่นความถี่ของการใช้งานโทรทัศน์ออกเป็นย่านความถี่ VHF และ ความถี่ UHF โดยที่ย่านความถี่ VHFได้ถูกใช้จนเต็มแล้ว ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่จึงต้องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในย่านความถี่ UHF แถบคลื่นความถี่ของความถี่การใช้งานโทรทัศน์ได้แบ่งดังนี้
ช่องความถี่ใช้งาน ย่านความถี่ช่อง 2-6 VHF 41-68 เมกะเฮิรตซ์
สถานีวิทยุ FM VHF 88-108 เมกะเฮิรตซ์
ช่อง 7-13 VHF 130-174 เมกะเฮิรตซ์
ช่อง 14-69 UHF 470-806 เมกะเฮิรตซ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น