สรุปสาระสำคัญการบรรยาย
เรื่อง “แนวทางการจัดทำนโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลสำหรับประเทศไทย”
วันพฤหัสบดี ที่ 8 กรกฎาคม 2553 เวลา 10.30 – 12.00 น.
โดย...ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
หัวข้อการบรรยาย
1. ความจำเป็น ประโยชน์และผลกระทบของการปรับเปลี่ยนการแพร่ภาพโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิทัล
2.มาตรฐานระบบโทรทัศน์ดิจิทัลและการเลือกรับของประเทศต่างๆ
3.บทวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (cost-benefit analysis) ของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทย
4. ข้อเสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ ดิจิทัลในประเทศไทย
5. ข้อเสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ ดิจิทัลในประเทศไทย
ทางเลือกในการรับบริการโทรทัศน์ในประเทศไทย
โทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial TV)
– ช่อง 3, 5, 7, Modern 9, สทท. (NBT), ทีวีไทย (ThaiPBS)

โทรทัศน์ทางสาย (Cable TV) และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (Satellite TV)
– ผู้ให้บริการ ประมาณ 300 ราย

โทรทัศน์ผ่านสื่อใหม่ เช่น IPTV, mobile TV
ทำไมต้องปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัล ?
- วิวัฒนาการของเทคโนโลยี : Analog Digital , HDTV , Mobile TV , IPTV , etc.
- การพัฒนาบริการใหม่ ๆ
- การแข่งขันทางธุรกิจ : content , network , Electronics
- การหลอมรวมสื่อ (media convergence)
- โอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล
• ภาพและเสียงที่คมชัดขึ้น (ประโยชน์ต่อผู้บริโภค)
• เพิ่มประสิทธิภาพการใช้คลื่นความถี่ จำนวนช่องรายการที่เพิ่มมากขึ้น , สามารถนำคลื่นบางส่วนมาจัดสรรสำหรับบริการสื่อสารสมัยใหม่ (ประโยชน์ต่อรัฐ, ผู้บริโภค , สถานีโทรทัศน์, ผู้ผลิตรายการ, ผู้ประกอบการรายใหม่)
• พัฒนาบริการใหม่ ๆ เช่น HDTV, interactive TV, pay-per-view, mobile TV, picture radio (ประโยชน์ต่อผู้บริโภค, สถานีโทรทัศน์)
• พัฒนา ICT, บริการ e-government, television-government ประโยชน์ต่อรัฐ, ผู้บริโภค)
• ส่งเสริมการแข่งขัน (ประโยชน์ต่อผู้บริโภค)
• พัฒนาอุตสาหกรรม content และ electronics ในประเทศ (ประโยชน์
ต่อผู้ผลิต content, electronics - set-top box และ software)
ผลกระทบจากปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล
• ด้านเศรษฐกิจ
– ผู้บริโภค : ค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัล หรือ ติดตั้ง G set-top box ที่มี digital tuner เพิ่มเติมกับเครื่องรับโทรทัศน์ระบบอนาล็อก (ราคา set-top box รุ่นพื้นฐานประมาณ 1,000 – 1,500 บาท)
– สถานีโทรทัศน์: เงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับแพร่ภาพโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิทัล + ค่าใช้จ่ายในการออกอากาศในระบบดิจิทัลและระบบอนาล็อกคู่ขนานกันไประยะหนึ่ง
• ด้านสังคมและวัฒนธรรม
– อาจเกิดการไหลบ่าของวัฒนธรรมต่างชาติ vs โอกาสในการรุกตลาดต่างประเทศ
• ด้านสิ่งแวดล้อม
– ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากโทรทัศน์อนาล็อก และอุปกรณ์ต่อพ่วง
• ด้านการศึกษาและการจ้างงาน
– หลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด
- อาชีพที่อาจหายไป เช่น ช่างซ่อมโทรทัศน์
การเลือกรับมาตรฐานโทรทัศ์นดิจิทัลของประเทศต่างๆ
การเลือกรับมาตรฐานของไทย
• มติที่ประชุมรัฐมนตรีสารสนเทศอาเซียนหรือ AMRI (ASEAN Ministers Responsible for Information) ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 ที่จาการ์ตา อินโดนิเซีย สนับสนุนให้รับ DVB-T เป็นมาตรฐานร่วมของอาเซียนสำหรับการแพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
• ประเทศไทยมีแนวโน้ม ค่อนข้างแน่นอนที่จะเลือกระบบ DVB-T เป็นมาตรฐานโทรทัศน์ ดิจิทัลภาคพื้นดิน เนื่องจากคุณสมบัติทางเทคนิคที่เหนือกว่า ATSC และความนิยมแพร่หลายที่มากกว่า ISDB-T
• ใช้ช่องความถี่ที่ว่างอยู่ในย่าน UHF Band IV (ช่อง 26-34) และ Band V (ช่อง 35-54) ความกว้าง 8 MHz เป็นช่องสำหรับแพร่ภาพโทรทัศน์ดิจิทัล
• เนื่องจาก DVB-T มีความยืดหยุ่นข้อกำหนดทางเทคนิคและมาตรฐานของระบบย่อยต่างๆ (เช่น การบีบอัดภาพและเสียง) จึงต้องมีการพิจารณาต่อไปโดยพิจารณาจากคุณสมบัติด้านต่างๆทั้งด้านเทคนิคและด้านเศรษฐกิจ
ความก้าวหน้าในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดินของ ประเทศต่างๆ
ประเทศที่ปรับเปลี่ยนสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลเสร็จเรียบร้อยแล้ว
Luxembourg – 1 กันยายน 2006
Netherlands – 11 ธันวาคม 2006
Finland – 1 กันยายน 2007
Andorra – 25 กันยายน 2007
Sweden – 15 ตุลาคม 2007
Switzerland – 26 พฤศจิกายน 2007
Belgium – 3 พฤศจิกายน 2008
Germany – 25 พฤศจิกายน 2008
USA – 12 มิถุนายน 2009
• ITU แนะนำให้ยุติโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อกภายในปี 2015 และมีช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านฯ 4 – 8 ปี
• EU แนะนำประเทศสมาชิกยุโรปให้ยุติโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อกภายในปี 2012
• ที่ประชุมรัฐมนตรีสารสนเทศอาเซียนหรือ AMRI ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 3-6 พฤศจิกายน 2552 ที่ประเทศลาวเห็นชอบให้ประเทศสมาชิกอาเซียนกำหนดช่วงเวลายุติโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อกในช่วงปี 2015 – 2020
การกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านฯ
ประเทศ | มาตรฐานที่เลือกใช้ | ปีที่เริ่มออกอากาศในระบบดิจิทัล | กำหนดการยุติการออกอาศในระบบอนาล็อก |
อังกฤษ | DVB-T | 1998 | 2012 |
อิตาลี | DVB-T | 2003 | 2012 |
ฝรั่งเศส | DVB-T | 2004 | 2011 |
ออสเตรเลีย | DVB-T | 2001 | 2013 |
นิวซีแลนด์ | DVB-T | 2007 | 2013-2015 |
ญี่ปุ่น | ISDB-T | 2003 | 24 กรกฎาคม 2011 |
สหรัฐอเมริกา | ATSC | 1999 | 12 มิถุนายน 2009 |
จีน | DMB-T/H | 2004 | 2012-2015 |
----------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น