(ขอขอบคุณบทความเทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นดิจิตอล จาก อสมท.)
Broadcasting ( การแพร่กระจายคลื่นสัญญาณ )
ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีระบบสื่อสารโทรคมนาคม เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง บนพื้นฐานของรูปแบบการส่งสัญญาณดิจิตอลซึ่งมีข้อดีกว่าระบบการส่งสัญญาณอนาล็อก เช่น มีความทนทานต่อสัญญาณรบกวน (Noise signal) เป็นผลให้การไดัมาซึ่งสัญญาณข้อมูลเดิม ที่ถูกต้อง มีความเชื่อถือได้ ทั้งนี้ระบบสื่อสารดิจิตอลนั้น จะให้ความยืดหยุ่นสูงในกระบวนการจัดการสัญญาณ แต่จะมีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากกว่าสัญญาณระบบอนาล็อก ระบบสัญญาณดิจิตอลสำหรับงาน Broadcasting นั้น จะเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการผลิตรายการ (Content Production) ไปจนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการส่งสัญญาณแพร่กระจายคลื่นออกอากาศ
องค์ประกอบของระบบประกอบด้วย
Source Coding
หมายถึง กระบวนการจัดการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูลดิจิตอลที่เป็นอินพุท
- สัญญาณดิจิตอลมีการบีบอัดข้อมูล (Compression ) เพื่อให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้น รูปแบบการบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG-2 และ MPEG-4
ได้มีการนำมาใช้ในงานแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอล
- หากข้อมูลนั้นต้องการความปลอดภัย จำเป็นต้องมีการปกปิด ก็สามารถใช้กระบวนการ Encyption หรือเรียกว่า Scramble ( การสอดแทรกรหัสไปกับสัญญาณภาพ )
ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของระบบว่าต้องการความสามารถนี้หรือไม่ การแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอล มีการนำมาใช้งานในขั้นตอนของการผลิตรายการ
Channel Coding
หมายถึง กระบวนการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งไปบนช่องสัญญาณสื่อสาร เนื่องจากสัญญาณรบกวนสามารถทำให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลทที่ส่งไปยังผู้รับปลายทาง การเข้ารหัสสัญญาณข้อมูลนี้สามารถแก้ไขและป้องกันความผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดขึ้น ณ เครื่องรับปลายทางได้ ระบบสื่อสารดิจิตอลสำหรับงาน Broadcasting มีการใช้งานกระบวนการ Channel Coding คือ FEC (Foward Error correction ) และ lnterleaving
FEC ( Foward Error correction )
คือ กระบวนการเข้ารหัสข้อมูล ดัวยวิธีการเพิ่มจำนวนบิต หรือเรียกว่า รหัสตรวจสอบ เข้าไปในชุดข้อมูลสำหรับการแก้ข้อมูลบิตที่ผิดพลาดที่เครื่องรับปลายทาง โดยที่รหัสตรวจสอบนั้นสร้างจากกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน รูปแบบวิธีการเข้ารหัสที่ใช้ในงาน Broadcasting เช่นกระบวนการ Convolution Code, Reed-Solomon Code ใช้ในมาตรฐานการส่งสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลระบบ DVB-T เป็นต้น
Interleaving
คือ การป้องกันความผิดพลาดของข้อมูลที่ส่งไปบนช่องสัญญาณด้วยกระบวนการสลับบิตหรือไบต์ข้อมูลด้านส่งมี 2 รูปแบบคือ Frequency lnterleaving และ Time lnterleaving หากมีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นบนช่องสัญญาณเป็นผลให้ข้อมูลเดิมนั้นเสียหาย เมื่อทำกระบวนการ De-lnterleaving จะทำให้ด้านรับสามารถคาดเดา (Prediction) ข้อมูลที่ถูกต้องได้
DigitaI Modulation
หมายถึง รูปแบบการมอตดูเลชั่น(การผสมสัญญาณ)ที่สัญญาณบิตข้อมูล ทำให้ความถี่ หรือแอมปลิจูด หรือเฟสของสัญญาณคลื่นพาห์ (Carrier) เปลี่ยนแปลงเป็นระดับที่แน่นอน เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณที่มีระดับแน่นอนคือ"0" กับ "1" เท่านั้น รูปแบบดิจิตอลมอตดูเลชั่นที่นิยมใช้งานในระบบ Broadcasting คือ QPSK (Quadrature Phase shift Keying) และ QAM (Quadrature Amplitude Modulation)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น