จานรับ TV ดาวเทียม C Band และ Ku Band แตกต่างกันอย่างไร
ในขณะที่กำลังมีการขยายตัวและได้รับความนิยมอย่างมากในการดู TV ระบบดิจิตอล โดยเฉพาะทีวีผ่านดาวเทียม ซึ่งมีผู้ให้บริการหลายรายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดูจากสีจานเช่น แดง ส้ม เหลือง ดำ ฯลฯ ทั้งแบบฟรีทีวีและแบบมีค่าบริการ เรามาทำความรู้จักกับทีวีดาวเทียมด้านจานรับกันหน่อย
เสาอากาศหรือจานรับทีวีจากสัญญาณจากดาวเทียม ที่ใช้งานทั่วไปมีอยู่ 2 ระบบคือ ระบบ C Band และ ระบบ Ku Band (Kurtz-under band)
จานรับ C Band
ลักษณะทั่วไปของทั้ง 2 ระบบ
1. ความเข้มของสัญญาณ C Band ที่ส่งลงมาจากดาวเทียม ความเข้มจะน้อยกว่า Ku Band
2. พื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณ ( Beam Coverage Area) ระบบ C Band จะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้กว้างกว่าทั้งแบบ Regional และ Global แต่ระบบ Ku Band จะครอบคลุมพื้นที่เฉพาะที่เล็กกว่า ทั้งแบบ Spot Beam และ Steerable Beam ในทางเทคนิคจึงส่งสัญญาณ C Band ให้มีความเข้มของสัญญาณน้อยกว่า Ku Band เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกัน
3. ขนาดของจานรับสัญญาณ C Band จะเป็นตะแกรงโปร่ง หรือทึบก็ได้ รูปพาราโบลิค เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8-3.5 เมตร ส่วน Ku Band จะเป็นจานทึบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.35 - 1.80 เมตร และจากการที่ความเข้มของสัญญาณที่แรงกว่า จึงทำให้ระบบ Ku Band สามารถใช้ใบจานขนาดเล็กกว่า C Band ได้ 2-3 เท่า
4. ลักษณะของแผ่นสะท้อนของจานรับ ระบบ Ku Band จะเป็นโลหะแผ่นเรียบจะเป็นอลูมีเนียม หรือ เหล็กชุบสี ในขณะที่ C Band ส่วนใหญ่จะเป็นตะแกรงปั้มเป็นรูเล็กๆ และสามารถใช้จานแบบ C Band รับสัญญาณระบบ Ku Band ได้ แต่ไม่สามารถนำจาน Ku Band มารับสัญญาณ C Band ได้
5. หัวรับสัญญาณ ทางเทคนิคเรียกว่า LNBF (Low Noise Block Down Frequency) เป็นกระเปาะ อยู่บริเวณจุดรับคลื่นสะท้อนมารวมกันบนจานรับ เป็นตัวแปลงสัญญาณความถี่สูงให้เป็นความถี่ต่ำลง ให้เหมาะสมกับภาครับของเครื่องรับ สัญญาณ (Receiver) ซึ่งระบบ C Band จะรองรับความถี่ 4-8 GHz (ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ) ส่วน Ku Band รองรับความถี่ 12-18GHz จึงใช้ LNBF แทนกันไม่ได้ แต่บางยี่ห้อทำแบบ 2 ระบบบรรจุไว้ในตัวเดียวกัน
6. เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) โดยปรกติใช้ร่วมกันได้ แต่เครื่องรับบางชนิดรับได้เฉพาะระบบ เช่นที่สั่งผลิต เช่นของ UBC จึงไม่สามรถนำมาใช้ทั่วไปได้ เครื่องรับสัญญาณทั่วไปสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 2 ระบบ โดยต้องตั้งค่า LNBF ให้ถูกต้อง
และระบบ Ku Band เป็นระบบที่ส่งสัญญาณด้วยความถี่สูงกว่า ซึ่งจะมีปัญหาการรับสัญญาณได้ไม่ดี หรือรับไม่ได้ในขณะที่เมฆหนา ฝนตกหนักหรือหิมะ แต่ระบบ C Band จะไม่ค่อยมีปัญหานี้
วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับ TV
ยอดขายรถยนต์ทุกประเภท (ข้อมูลจาก Toyota web สค. 2554)
- มค.-มิย.2554 (6เดือน) รวม 432,012 คัน เฉลี่ย 72,000 คันต่อเดือน
- คาดการปี 2554 ยอดขายรวม 864,000 คัน ปรับลดจากซึนามิที่ญี่ปุ่น เป็นเป้าใหม่ 840,000 คัน
ตลาดเครื่องเสียงในรถยนต์
- ขนาดตลาดรวม ปี 2554 ประมาณ 3,000 ล้านบาท
- เฉลี่ยราคาต่อหน่วยประมาณ 5,000 บาท
- จำนวนประมาณ 600,000 unit ต่อปี
- TV ติดรถยนต์โดยตรงยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องล่น DVD และติดตั้งกล่องรับ Analog TV หรือติดจานรับ TV ดาวเทียมขนาดเล็ก เพิ่มภายหลัง
ตลาด GPS (ข้อมูลจากการแถลงข่าว ESRI)
- ขนาดตลาดรวม ปี 2554 ประมาณ 500 ล้านบาท
- เป็นยอดขายใน กทม. 70%
- จำนวน GPS ติดรถยนต์ประมาณ 2-3 แสนคัน จากจำนวนรถรวม 6-7 ล้านคัน ทั่วประเทศ
- ปัจจุบันมีสินค้าจากจีนเป็นจำนวนมากส่วนใหญ่เป็น Portable และมี Function ด้าน entertainment ยังไม่ค่อยมีสินค้าที่ควบรวม TV มากนัก
โทรทัศน์ในประเทศไทย (ข้อมูลจากการบรรยาย nectec นโยบาย TV ไทยฯ 8 กค.2553)
· โทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial TV)
– ช่อง 3, 5, 7, Modern 9, สทท. (NBT), ทีวีไทย (ThaiPBS)
– ครอบคลุมพื้นที่ 98% ของประเทศ หรือประมาณ 99% ของครัวเรือน
· โทรทัศน์ทางสาย (Cable TV) และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (Satellite TV)
– ผู้ให้บริการ ประมาณ 300 ราย
– สมาชิก ประมาณ 4 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 25% ของครัวเรือน
ขนาดตลาด TV ทุกประเภท ปี 2554 (คำนวณจากข้อมูลจากข่าวสด แถลงข่าวของ samsung 16 พค.2554)
- มูลค่าตลาดรวม ประมาณ 8 พันล้านบาท
- คิดเป็นประมาณ 1 ล้านเครื่อง
วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ช่องรายการ Digital TV ดาวเทียมของ MCOT
ช่องรายการในปัจจุบัน
เอ็มคอททีวี เอ็มคอททีวี (MCOT TV) เป็นช่องรายการที่นำเสนอรายการข่าวสาร จากสำนักข่าวไทย ซึ่งรับสัญญาณมาจากสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สารประโยชน์, ศาสนา, สารบันเทิง, การท่องเที่ยว, สารคดี, กีฬา และเยาวชน ตลอดจนรายการถ่ายทอดสดต่างๆ ออกอากาศทางช่อง 98 ในระบบดิจิตอลของทรูวิชั่นส์
สถานีโทรทัศน์แห่งอาเซียน (ASEAN Television) หรือ อาเซียนทีวี ได้ร่วมกับ บริษัท เนชั่น บรอด์คลาสท์ติ้ง คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด ตามมติของคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอรายการเชิงศิลปวัฒนธรรม เอกลักษณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ วิถีชีวิต สารคดี ตลอดจนข่าวสารและความเป็นไป ของประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นสมาชิกถาวรของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นสื่อกลางในการประสานความเข้าใจอันดีของชาติสมาชิก ทั้งระหว่างรัฐต่อรัฐ รัฐต่อประชาชน และประชาชนต่อประชาชน โดยออกอากาศทางช่อง 99 ในระบบดิจิตอลของทรูวิชั่นส์, เครือข่ายดาวเทียมซี-แบนด์ และทางเว็บไซต์ อาเซียนทีวี เริ่มออกอากาศเมื่อการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ชะอำและหัวหิน หลังจากนั้นมีรายการที่เกี่ยวกับอาเซียนและการถ่ายทอดสดสำคัญ ๆ
ช่องรายการเดิม
เอ็มคอทวัน เอ็มคอทวัน (MCOT 1) เป็นสถานีที่ออกอากาศนำเสนอรายการที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร นำเสนอโดยสำนักข่าวไทย โดยรับสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ สาระประโยชน์ที่เกี่ยวข้องการปกครอง รายการทางศาสนา สาระความรู้ต่างๆทั่วไป และการถ่ายทอดสดต่างๆ ออกอากาศทางช่อง 78 ในระบบดิจิตอลของทรูวิชั่นส์ และทางดาวเทียมย่านความถี่ ซี-แบนด์ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเอ็มคอททีวี ปัจจุบันเอ็มคอท1ได้ย้ายมาอยู่ช่องmcot7
เอ็มคอททู เอ็มคอททู (MCOT 2) เป็นสถานีที่ออกอากาศนำเสนอรายการสาระบันเทิงต่างๆ วาไรตี้ รายการส่งเสริมการท่องเที่ยว สารคดี รายการและการถ่ายทอดสดกีฬาหลากหลายชนิด และรายการเพื่อเด็กและเยาวชน ออกอากาศทางช่อง 79 ในระบบดิจิตอลของทรูวิชั่นส์ และทางดาวเทียมในระบบ ซี-แบนด์ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอาเซียนทีวี
เอ็มคอท นิวส์ 24 เอ็มคอท นิวส์ ทเวนตีโฟร์ (MCOT News 24) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ สถานีรัฐธรรมนูญ ออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 8 เมื่อปี พ.ศ. 2550 ในโอกาสที่ประเทศไทย มีการร่าง และลงประชามติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่าง บมจ.ทรูวิชั่นส์ ผู้เช่าสัมปทาน และ บมจ.อสมท เจ้าของสัมปทาน ออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2550 ออกอากาศทางช่องนิวส์ ทเวนตีโฟร์ ซึ่งเป็นช่องข่าวในวาระพิเศษของทรูวิชั่นส์ และได้สิ้นสุดการออกอากาศในปีเดียวกัน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันผ่านร่างเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นช่องทีเอ็นเอ็น 2 ของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทีเอ็นเอ็น
เอ็มคอท (เอ็ชดี) เอ็มคอท (เอ็ชดี) (ปัจจุบันยุติออกอากาศแล้ว) เป็นช่องรายการที่นำเสนอรายการต่างๆ และชมการถ่ายทอดสด ผ่านระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงเป็นช่องแรกของประเทศไทย ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ผ่านดาวเทียมไทยคม 5 ในระบบ ซี-แบนด์ (C-Band) ด้วยเทคโนโลยี Digital Television DVB-S2 แบบ MPEG-4/HD โดย ผู้ชมจะต้องมีจานดาวเทียมรับสัญญาณ ซี-แบนด์ และมีกล่องรับสัญญาณ HD ปรับหาช่องสัญญาณซึ่งจะพบโดยอัตโนมัติ และรับชมได้ทันที เนื่องจากออกอากาศโดยไม่มีการเข้ารหัส โดยปัจจุบันนี้ MCOT HD ต้องยุติออกอากาศแล้ว
ช่องรายการที่ผลิตร่วมกับที่อื่น
ไทยอาเซียนนิวส์เน็ตเวิร์ค เป็นช่องรายการข่าวภาคภาษาอังกฤษ โดยช่องนี้ ผลิตร่วมกับ บริษัทไทยเดย์ดอตคอม ออกอากาศในช่อง MCOT3 ผ่านทรูวิชั่นส์ ช่อง 78
ฟาร์ม แชนแนล เป็นช่องรายการข่าวที่เกี่ยวกับเกษตร เพื่อคนไทยหัวใจเกษตร โดยช่องนี้ ผลิตร่วมกับ กันตนา ออกอากาศในช่อง MCOT4 ผ่านจานดาวเทียม C-Band และ เคเบิลทีวีไทยทั่วประเทศ
มิราเคิล เป็นช่องรายการบันเทิงแนวลี้ลับและความมหัศจรรย์ โดยช่องนี้ ผลิตร่วมกับ กันตนา ออกอากาศในช่อง MCOT5 ผ่านจานดาวเทียม C-Band และ เคเบิลทีวีไทยทั่วประเทศ
เอ็ม แชนแนล เป็นช่องรายการภาพยนตร์และความบันเทิง โดยช่องนี้ ผลิตร่วมกับ เมเจอร์ และ กันตนา ออกอากาศในช่อง MCOT6 ผ่านจานดาวเทียม C-Band , KU-Band ดีทีวี ช่อง40 และ ซีทีเอช สมาคมเคเบิลทีวีไทย
ช๊อป ไทยแลนด์ เป็นช่องรายการแนะนำสินค้า โดยช่องนี้ ผลิตร่วมกับ บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด ออกอากาศในช่อง MCOT7 ผ่านจานดาวเทียม C-Band
ทีสปอร์ต แชนแนล เป็นช่องรายการกีฬา เพื่อประชาคมกีฬา โดยช่องนี้ ผลิตร่วมกับ การกีฬาแห่งประเทศไทย และ Adamas ออกอากาศในช่อง MCOT8 ผ่านจานดาวเทียม C-Band , KU-Band , ทรูวิชั่นส์ ช่อง109 และ ซีทีเอช สมาคมเคเบิลทีวีไทย
วัน แชนแนล เอเชีย เป็นรายการอาหารและวาไรตี้ท่องเที่ยว 24 ชั่วโมง โดยช่องนี้ ผลิตร่วมกับ บริษัท เดอะวันคลับ จำกัด ออกอากาศในช่อง MCOT9 ผ่านจานดาวเทียม C-Band และ ซีทีเอช สมาคมเคเบิลทีวีไทย
เอช พลัส แชนแนล เป็นช่องวาไรตี้เพื่อสุขภาพ 24 ชั่วโมง โดยช่องนี้ ผลิตร่วมกับ บริษัท เอเชีย เทเลวิชั่น แอนด์ มีเดีย จำกัด ออกอากาศในช่อง MCOT10 ผ่านจานดาวเทียม C-Band และ ซีทีเอช สมาคมเคเบิลทีวีไทย
บางกอก ซิตี้ แชนแนล เป็นช่องข่าวสารและสาระบันเทิงของกรุงเทพมหานคร โดยช่องนี้ ผลิตร่วมกับ กรุงเทพมหานคร ออกอากาศในช่อง MCOT11 ผ่านจานดาวเทียม C-Band, ทรูวิชั่นส์ ช่อง 76
โทรทัศน์ครู ผลิตร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ออกอากาศในช่อง MCOT12 ผ่านจานดาวเทียม C-Band , KU-Band ดีทีวี ช่อง 36 และ ซีทีเอช สมาคมเคเบิลทีวีไทย
สถานีวิทยุโทรทัศน์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (STOU TV) ผลิตร่วมกับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ออกอากาศในช่อง MCOT13 ผ่านจานดาวเทียม C-Band
ที่มา : สารานุกรมเสรีความเป็นมา: ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.( Modernine Television)
เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย บริหารงานโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.อสมท โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในนาม สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ที่ตั้งปัจจุบัน อยู่ภายในที่ทำการ บมจ.อสมท เลขที่ 63/1 ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 หรือ TTV ( Thai Television Channel 4) นับว่าเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินงานภายใต้การบริหารของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อังกฤษ: Thai Television Co.,Ltd. ชื่อย่อ: ท.ท.ท.) โดยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 มีชื่อเรียกขานตามอนุสัญญาสากลว่าด้วยวิทยุโทรทัศน์ว่า HS1-TV ตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม ที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน อันเป็นที่มาของชื่อสถานีฯ ที่รู้จักกันทั่วไปคือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม
ราวเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้หยุดทำการออกอากาศในระบบ 525 เส้น ทางช่อง 4 โดยได้ย้ายห้องส่งโทรทัศน์ไปที่ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู และราว พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนระบบการออกอากาศ จากภาพขาวดำ เป็นภาพสี ในระบบ 625 เส้น ทางช่อง 9 อย่างสมบูรณ์ พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 9 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด
วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 รัฐบาลภายใต้การนำของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ( Mass Communication Organisation of Thailand ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท., M.C.O.T.) เพื่อดำเนินกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐ ให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่น่าเชื่อถือต่อสาธารณชน อ.ส.ม.ท.จึงรับโอนกิจการ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ( Thai Television Channel 9) มาดำเนินการต่อ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท. โดยรัฐบาลมอบทุนประเดิม จำนวน 10 ล้านบาท
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท.ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 บนเนื้อที่ 14 ไร่ ต่อมา ในราวปี พ.ศ. 2529 ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอ ข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับบริษัท แปซิฟิค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ส่งผลให้คู่ผู้ประกาศข่าวที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้น ก็คือ ดร.สมเกียรติ และนางสาวกรรณิกา ธรรมเกษร นั่นเอง
ราวปี พ.ศ. 2535 นาย แสงชัย สุนทรวัฒน์ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในช่วงที่ อ.ส.ม.ท.ถูกเรียกว่า “แดนสนธยา” เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืดฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่นายแสงชัยก็สามารถขจัดอิทธิพลมืดเหล่านั้นได้สำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท.ได้เป็นอย่างดี แต่แล้วนายแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืนเสียชีวิต ระหว่างนั่งรถยนต์เดินทางกลับบ้านพัก ที่เมืองทองธานีถนนแจ้งวัฒนะ จากผลการสอบสวนของตำรวจระบุว่า นางอุบล บุญญชโลธร จ้างวานให้ นายทวี พุทธจันทร์ บุตรเขย ส่งมือปืนไปลอบสังหารนายแสงชัย ต่อมา นางอุบลถูกลอบสังหารเสียชีวิตบนรถยนต์ก่อนกลับถึงบ้านพัก เช่นเดียวกับนายแสงชัย
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์
ถือกำเนิดขึ้นจากดำริของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ว่าต้องการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ให้มีความทันสมัย รวดเร็ว และฉับไว ในด้านการรายงานเสนอข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิงทั้งหมด และเพื่อทันต่อเทคโนโลยี การสื่อสารของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ และเพื่อเป็นการปราศจากความเป็นแดนสนธยาภายในองค์กรอีกด้วยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 มีพิธีเปิดตัว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแล อ.ส.ม.ท. และ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. เป็นสักขีพยาน
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ประกอบด้วย การเปลี่ยนสัญลักษณ์ของสถานีเป็นรูปดวงตาสีม่วง และปรับรูปแบบการนำเสนอเป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เพิ่มข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวี ในข่าวภาคค่ำ นำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้ ในประเด็น และการนำเสนอแบบสบายๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร รวมถึงประกาศเพิ่มความสัมพันธ์ และเพิ่มบทบาทให้กับเครือข่ายข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (สหรัฐอเมริกา) สถานีโทรทัศน์บีบีซี (สหราชอาณาจักร) สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (ญี่ปุ่น) สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (จีน) เป็นต้น
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ การออกอากาศโทรทัศน์ ตลอดจนการควบคุมการออกอากาศ โดยแพร่ภาพออกอากาศ จากกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่ายในส่วนภูมิภาค 32 สถานี สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 79.5 ของประเทศ มีประชากรใน ขอบเขตการออกอากาศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.5 ของประเทศ โดยมีรายการประเภทข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง กีฬา และรายการเพื่อสาธารณประโยชน์ ซึ่งได้จัดให้มีรายการประเภทข่าวสาร และสาระความรู้ในด้านต่างๆ นำเสนอในช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด (Prime Time) เพื่อให้ผู้ชมได้รับข่าวสาร และความรู้ ที่เป็นประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และมุ่งหวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชน
ที่มา : สารานุกรมเสรี
วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554
Conditional access system (CAS)
Conditional access system (CAS) หรือ condition access (CA)
เป็นระบบที่ใช้เพื่อจำกัดการเผยแพร่สื่อสัญญาณดิจิตอลเช่นสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียม หรือผ่านสายเคเบิล เรียกว่าระบบการเข้าถึงข้อมูลแบบมีเงื่อนไข ในระบบ DVB มาตรฐานการเข้าถึงข้อมูลตามเงื่อนไขได้กำหนดไว้ในเอกสารข้อกำหนดสำหรับการบริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอล เพื่อจำกัดการใช้งานโดยเฉพาะลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิก ซึ่งสัญญาณจะถูกเข้ารหัสลับทำให้อุปกรณ์เครื่องรับที่ไม่ได้รับอนุญาต จะไม่สามารถใช้งานได้ แต่จะให้เฉพาะกลุ่มสมาชิกหรือผู้ที่มีบัตรสมาร์ทการ์ดหรือ Chip ที่ติดตั้งไว้ในอุปกรณ์ และมีการเข้ารหัสและถอดรหัสที่ถูกต้อง สามารถดูเนื้อหาได้ ด้วยวิธีการสอดแทรกและการเข้ารหัสในสัญญาณข้อมูลที่ส่งออกอากาศหรือทางเคเบิลทีวี ผู้ให้บริการจะมีการเปลี่ยนแปลงรหัสควบคุมหลายครั้งต่อนาที และรหัสนี้จะถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถคาดเดาได้
Conditional access system แบบต่างๆที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เช่น
- DigiCipher II. พัฒนาโดยกลุ่มบริษัท Jerrold, GI, และ Motorola 4DTV. ออกแบบเพื่อใช้งานกับระบบ DVB-S2.
- VideoCipher II Renewable Security. หรือ VCII RS, ออกแบบสำหรับใช้งานกับ ทีวีดาวเทียมในระบบ C-Band.
- Nagravision. พัฒนาโดยบริษัท Nagravision ตั้งแต่ปี 2003. ระบบใหม่ที่เปิดใช้งานได้แก่ Nagravision Carmageddon, Nagravision Aladin, Nagravision A, และ Nagravision 3-Merlin.
- VideoGuard. พัฒนาโดย NDS Group ซึ่งส่วนใหญ่ใช้งานกับระบบทีวีดาวเทียม มีหลาย version เช่น NDS VideoGuard 1, NDS VideoGuard 2 และ NDS VideoGuard 3.
- Irdeto. พัฒนาโดยบริษัท Irdeto ออกแบบเพื่อใช้งานในการป้องกันเนื้อหาข้อมูลดิจิตอลทั่วไป
- MediaGuard. พัฒนาโดยบริษัท SECA. Version ใช้งานล่าสุดคือ Seca Mediaguard 3.
- Viaccess. พัฒนาโดย France Telecom.
MPEG มาตรฐานการบีบอัดข้อมูลภาพและเสียง
1. MPEG-1 (MP1) Audio Layer I เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลทางเสียง เป็น File ขนาดเล็ก ใช้กับวิดีโอเกมส์
2. MPEG-1 Audio Layer II or MPEG-2 Audio Layer II เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลทางเสียงอีกแบบหนึ่ง โดยมีการพัฒนาควบคู่กับ MPEG-1 Audio Layer I และ MPEG-1 Audio Layer III (MP3) ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมมากกว่า
3. MPEG-1 or MPEG-2 Audio Layer III หรือ MP3 เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลทางเสียงแบบหนึ่ง โดยการปรับข้อมูลและบีบอัดใหม่ให้มีขนาดเล็กลงมาก โดยที่ยังคงคุณภาพส่วนที่จำเป็นไว้ ซึ่งได้รับความนิยม เหมาะสำหรับเครื่องเล่นเพลงทั่วไป และใช้ใน Internet
4. MPEG-2 เป็นมาตรฐานการเข้ารหัสและการบีบอัดข้อมูลภาพเคลื่อนไหวและข้อมูลเสียง เพื่อให้สอดคล้องเหมาะกับการจัดเก็บและการส่งต่อ ใช้เป็นมาตรฐานของข้อมูลสัญญาณสำหรับโทรทัศน์ระบบดิจิตอลในการกระจายคลื่นออกอากาศ แบบภาคพื้นดิน เคเบิล และดาวเทียม โดยมีความคมชัดอยู่ในกลุ่ม ภาพยนตร์ DVD นั่นเอง ซึ่งสถานีส่ง เครื่องรับ TV เครื่องเล่น DVD และเครื่องล่นอื่นๆจำนวนมากได้ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานนี้ ซึ่ง MPEG-2 นี้เป็นมาตรฐานสากลลำดับที่สอง ที่พัฒนาโดยหน่วยงาน Moving Pictures Expert Group (MPEG) และเป็นรูปแบบส่วนสำคัญของระบบดิจิตอล TV และ DVD
5. H.264/MPEG-4 หรือ AVC (Advanced Video Coding) เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลภาพและเสียงเพื่อการบันทึกและการเผยแพร่สัญญาณภาพความชัดสูง ซึ่งพัฒนาร่วมกันโดย ITU-T Video Coding Experts Group (VCEG), ISO และหน่วยงาน MPEG ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปสำหรับใช้กับ Blu-ray Discs นอกจากนี้ยังใช้งานกับการแสดงภาพทางโปรแกรมต่างๆและทาง Internet เช่น ใน You Tube รวมถึงใช้ในการแพร่ภาพ ดิจิตอลทีวี
6. Audio Video Standard (AVS) เป็นมาตรฐานการบีบอัดสำหรับภาพและเสียงแบบดิจิตอล อยู่ในเกณฑ์และเป็นคู่แข่งกับมาตรฐาน H.264/AVC ซึ่งอาจเข้ามาแทนที่มาตรฐาน MPEG - 2 โดยประเทศจีนเป็นเจ้าของสิทธิบัตรของมาตรฐาน AVS. นี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)