วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลแบบต่างๆ

ปัจจุบันมีการพัฒนามาตรฐานทางเทคนิคของโทรทัศน์ดิจิทัลขึ้นมาหลายมาตรฐานดังแสดงในตาราง สำหรับโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดิน มีมาตรฐานที่แพร่หลายอยู่ 3 มาตรฐาน ได้แก่
(1) มาตรฐาน ATSC ของสหรัฐอเมริกา
(2) มาตรฐาน DVB-T ของยุโรป และ
(3) มาตรฐาน ISDB-T ของญี่ปุ่น
(4)   มาตรฐาน DTMB ของจีน


พัฒนาการของมาตรฐานทางเทคนิคของระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดิน แต่ละระบบมีความแตกต่างกันแม้ว่าส่วนใหญ่มีแนวทางการพัฒนาที่คล้ายกันคือเป็นการทำงานร่วมกันของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องโดยการสนับสนุนของรัฐบาลหรือองค์กรว่าด้วยการมาตรฐาน แต่เทคนิคทางดิจิทัลที่เลือกใช้มีความแตกต่างหลากหลายในหลายระดับ เช่น วิธีการเข้ารหัส -ถอดรหัส (หรือการบีบอัด) ภาพและเสียง วิธีการรวมส่งสัญญาณ (multiplexing) วิธีการมอดูเลต (modulation) จำนวนคลื่นพาห์ (carrier) และความกว้างของช่อง (Bandwidth) เป็นต้น การเลือกใช้เทคนิคที่ต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพ เสถียรภาพ ความยืดหยุ่นต้นทุนและปัจจัยอื่นๆ ซึ่งในการพิจารณาเลือกรับมาตรฐานของประเทศต่างๆ นั้น โดยทั่วไปจะพิจารณาจากปัจจัยหลัก 2 ด้าน ประกอบด้วย

1.ปัจจัยทางเทคนิค โดยทั่วไปจะพิจารณาจากคุณสมบัติและสมรรถนะในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับ (maturity) ประสิทธิภาพการใช้คลื่นความถี่ (Spectrum efficiency) ความทนทานต่อปัญหาการรบกวนและการแทรกสอด (robustness) ความสามารถในการให้บริการหลายรูปแบบ (เช่น HDTV, SDTV, Fixed, Mobile) ความยืดหยุ่นในการเลือกค่าตัวแปรทางเทคนิคให้เหมาะสมกับสภาพช่องสัญญาณในพื้นที่และเวลาต่างๆ (flexibility) ความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบอื่นๆ (interoperability) ความสอดคล้องกับแผนความถี่วิทยุโทรทัศน์ที่มีอยู่เดิม และความเข้ากันได้กับแผนความถี่ของประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกัน ตลอดจนแนวโน้มการพัฒนาของมาตรฐานต่างๆ ในอนาคตด้วย
2.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ - สังคม โดยทั่วไปจะพิจารณาจากต้นทุนในการเปลี่ยนผ่านฯ และผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนทั่วไป ความนิยมของนานาประเทศโดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเดียวกันซึ่งมีผลต่อต้นทุนของอุปกรณ์เครื่องรับตามบ้านเรือน โอกาสในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ รวมถึงประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติเช่น ประสิทธิผลของการสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชนในแถบ

มาตรฐาน DTV S-DMB, CMMB

มาตรฐาน S-DMB
S-DMB
เป็นมาตรฐานการให้บริการ Audio คุณภาพสูงพร้อมด้วยข้อมูลสื่อประสมแบบต่างๆ รวมทั้ง Video ให้บริการผสมกันทั้งแบบผ่านดาวเทียมและให้บริการภาคพื้นดิน ที่ประเทศเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นพัฒนาร่วมกัน ตามมาตรฐาน ITU-R BO1130, ITU-R BS1547 และรู้จักในนามมาตรฐาน ARIB ระบบจะออกแบบให้ครอบคลุมเขตบริการกว้าง ๆ เช่น ครอบคลุมทั้งประเทศ ด้วยดาวเทียมในย่านความถี่ S-Band ความถี่ 2,630-2,655 MHz ใกล้เคียงกับย่านความถี่ของบริการ 3G ส่วนในบริเวณพื้นที่ ที่ไม่สามารถรับได้คุณภาพดีโดยตรงจากดาวเทียมหรือกรณีรับสัญญาณในอาคาร สถานีทวนสัญญาณภาคพื้นดินโดยใช้ความถี่เดียวกันแต่กำลังต่ำครอบคลุมพื้นที่แคบๆ ในเขตเมืองและภายในอาคาร เทคโนโลยีที่ใช้เช่นเดียวกับ DVB-SH.
S-DMB
ใช้การมอดูเลตแบบ CDM (Code Division Multiplex) บนพื้นฐาน QPSK พร้อมด้วย FECแบบ RS (204,188) และรหัสชั้นใน (Inner Code) แบบคอนโวลูชัน (Convolution) ที่เลือกอัตรา 1/2, 2/3,3/4, 5/6 และ7/8 ได้ มีแบนด์วิดท์ในการให้บริการ 25 MHz ที่ความถี่ 2,630-2,655 MHz มีการให้บริการแล้วในประเทศเกาหลีและประเทศญี่ปุ่น

มาตรฐาน CMMB
CMMB
หรือ China Mobile Multimedia Broadcasting มาตรฐานที่ประเทศจีนกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ในประเทศจีน พัฒนาโดยการนำโดย SARFT : State Administration for Radio,Film and Television อยู่บนพื้นฐาน STiMi ( Satellite and Terrestrial interactive multiservice infrastructure ) ประกาศใช้ในปี 2006 มาตรฐาน CMMB จะใกล้เคียงกับ มาตรฐาน DVB-SH คือบรอดคาสท์จากดาวเทียมและเสริมจุดบอด (Gap filler) ด้วยสถานีภาคพื้นดิน สู่อุปกรณ์รับสัญญาณแบบมือถือ เครื่องรับติดรถยนต์ ที่มีจอแสดงภาพขนาดเล็ก เช่น PMP, PDA, Cell Phone และ UMPC


                             CMMB Network
มาตรฐาน CMMB กำหนดให้ใช้ความถี่ดาวเทียมย่าน S-Band ความถี่ 2.6 GHz แถบความถี่กว้าง 25 MHz สามารถให้บริการ วิดีโอได้ 25 ช่อง และรายการวิทยุ 30 รายการ พร้อมบริการข้อมูลอีกส่วนหนึ่งมาตรฐาน CMMB มีข้อเด่นหลายประการ เช่น เครื่องรับสิ้นเปลืองพลังงานต่ำ การรับระหว่างการเคลื่อนที่ดีมาก คุณภาพการให้บริการ (QOS) อยู่ในขั้นดีมาก เนื่องจากใช้จำนวนบิตในการบริการไม่มาก การให้บริการจะแบ่งเป็นระดับชาติ ให้บริการผ่านดาวเทียม ส่วนระดับท้องถิ่นจะเป็นการให้บริการผ่านสถานีภาคพื้นดิน ในย่าน UHF แบบ SFN


                                   ส่วนประกอบของมาตรฐาน CMMB
จากรูปมาตรฐาน CMMB จะเห็นว่า สามารถให้บริการ Audio / Video, Emergency Broadcast, ESG, CA, Secure Broadcasting, และ Data Broadcast โดยมีข้อกำหนดการส่ง (Transmission Specification ดังนี้


                     Transmission Specification
ระบบ CMMB มีการทดลองใช้งานในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่โอลิมปิคเกมส์ 2008 ใน 37 เมือง ปัจจุบันมีการทดลองใช้งานรวม 150 เมือง

มาตรฐาน DTV Media FLO, DVB-SH

มาตรฐาน Media FLO
Media FLO
เป็นระบบโทรทัศน์มือถือที่พัฒนาโดยบริษัท Qualcomm ประเทศสหรัฐอเมริกา FLO คือ Forward Link Only บนพื้นฐาน COFDM เป็นระบบเปิดโดยเฉพาะ Physical Layer มีหลักการในการเข้ารหัสคล้ายกับ DVB-H ระบบแก้ความผิดพลาดแบบไปข้างหน้า (FEC) แบบเทอร์โบ (Turbo- Coding) สามารถมอดูเลตกับสัญญาณ QPSK, 16QAM, กับคลื่น OFDM แบบเรียงลำดับ (Layered Modulation) ขนาด 4k ระบบออกแบบเพื่อใช้ในย่านความถี่ UHF สำหรับช่องสัญญาณขนาด 8 MHz สามารถส่งรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ 10-20 รายการ Media FLO เป็นการให้บริการโทรทัศน์มือถือที่สมบูรณ์รวมทั้งระบบเก็บค่าบริการ และค่าลิขสิทธิ์ มีบริการเชิงพาณิชย์แล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา และอยู่ระหว่างการทดลองให้บริการในประเทศไต้หวันและฮ่องกง

มาตรฐาน DVB-SH
DVB-SH
คือมาตรฐานโทรทัศน์มือถือ ที่ให้บริการ Audio/Video และบริการข้อมูลสู่อุปกรณ์รับสัญญาณแบบ มือถือ เช่น Mobile Phone, และเครื่องรับที่ติดตั้งบนยานพาหนะต่างๆ เป็นการให้บริการแบบผสมกันทั้งแบบผ่านดาวเทียมและให้บริการภาคพื้นดิน ระบบจะออกแบบให้ครอบคลุมเขตบริการกว้าง ๆ เช่นครอบคลุมทั้งประเทศ ด้วยดาวเทียมในย่านความถี่ต่ำกว่า 3GHz เช่นในย่าน S-Band ความถี่ 2.2 GHz ใกล้เคียงกับย่านความถี่ของบริการ 3G ส่วนในบริเวณพื้นที่ที่ไม่สามารถรับได้คุณภาพดีโดยตรงจากดาวเทียมหรือกรณีรับสัญญาณในอาคาร สถานีภาคพื้นดินย่านความถี่ UHF และ L-Band จะช่วยเสริมในส่วนนี้ได้ดี

DVB-SH ถูกออกแบบให้เป็นส่วนเสริมและปรับปรุงมาตรฐาน Physical Layer ของ DVB-H ให้ดียิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแจกจ่าย DVB IP Datacast (IPDC) เป็นไปตามมาตรฐาน ETSI EN 302 583 และ TS 102 585
DVB-SH
มีการทำงาน 2 โหมด คือ.-
- SH-A:
กำหนดใช้วิธี COFDM ทั้งการส่งผ่านดาวเทียมและภาคพื้นดิน ในโหมด SFN ทั้ง 2 ลิงค์ SH-B: กำหนดใช้วิธี TDM ( Time Division Multiplexing) ในการส่งผ่านดาวเทียมส่วนภาคพื้นดิน ใช้ COFDM
- FEC
แบบ 3GPP2 Turbo Coding
-
ปรับปรุง Time interleavingให้ดีขึ้น
-
รองรับเครื่องสัญญาณที่การใช้สายอากาศรับแบบ Diversity
-
สามารถเลือกมอดูเลต แบบ QPSK,8PSK,16APSK เมื่อส่งแบบ TDM และ มอดูเลต แบบ QPSK,16QAM เมื่อส่งแบบ COFDM
-
เลือกใช้ Bandwidth ขนาด 8MHz,7MHz,6MHz,5MHz,1.7MHz ตามความเหมาะสม
-
สามารเลือก FFT ได้หลายแบบคือ 8K, 4K, 2K และส่วนย่อยจาก 2K คือ1k

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

มาตรฐาน DTV DVB-H, 1seg, T-DMB

มาตรฐานสากลของเทคโนโลยีระบบโทรทัศน์มือถือดิจิทัล (Handheld Digital TV)
เทคโนโลยีระบบโทรทัศน์มือถือดิจิทัล (Handheld Digital TV) มีหลายมาตรฐาน เช่น DVB – H DVB-SH (ยุโรป), 1seg (ญี่ปุ่น), Media FLO (อเมริกา) T-DMB (เกาหลีใต้), S-DMB (เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น) CMMB (ประเทศจีน), และ 3GPP เป็นต้น

มาตรฐาน DVB-H
เทคโนโลยีโทรทัศน์ดิจิทัลมือถือ ระบบ DVB-H ถูกพัฒนาขึ้นโดยเป็นการต่อยอดจากระบบโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดินแบบ DVB-T ซึ่งมีการเพิ่มเติมคุณสมบัติเพื่อให้สามารถรองรับข้อกำหนดเฉพาะต่างๆ ของเครื่องรับโทรทัศน์แบบพกพาที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานในการใช้งานโทรทัศน์ดิจิทัลมือถือที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ระบบ DVB-H ทำงานโดยใช้เทคโนโลยี Time Slicing ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวทำงานโดยส่งข้อมูลเป็น Burst ลงใน Time-slot ที่ถูกกำหนดไว้ ซึ่งอุปกรณ์ภาครับสามารถประหยัดพลังงานได้โดยเปิดรับข้อมูลในช่วงระยะเวลาของ Time-slot ที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ในแต่ละ burst สามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 2 Mbits ซึ่งใช้การเข้ารหัสแบบ Reed-Solomom 64 bits ต่อ ข้อมูล 191 bits และนอกจากนี้ สัญญาณระบบโทรทัศน์ DVB-H ยังสามารถูกส่งออกมารวมกันกับสัญญาณ DVB-T ภายในมัลติเพล็กซ์เดียวกันได้ดังแสดงในรูป

รูปแสดงสัญญาณระบบโทรทัศน์ DVB-H ถูกส่งออกมารวมกันกับสัญญาณ DVB-T ภายในมัลติเพล็กซ์เดียวกัน
เทคโนโลยีโทรทัศน์ดิจิทัลมือถือระบบ DVB-H ได้ถูกออกแบบให้ทำงานได้ในย่านความถี่ดังต่อไปนี้
- VHF-III (170-230 MHz)
- UHF-IV/V (470-862 MHz)
- L (1.452-1.492 GHz)


มาตรฐาน 1seg
มาตรฐาน 1seg เป็นมาตรฐานเทคโนโลยีโทรทัศน์ดิจิทัลมือถือที่พัฒนาขึ้นโดยประเทศญี่ปุ่นในปี 2005 และปัจจุบันถูกใช้งานในประเทศญี่ปุ่นและประเทศบราซิล เทคโนโลยีโทรทัศน์ดิจิทัลมือถือ 1seg ถูกออกแบบขึ้นมาให้สามารถให้บริการถ่ายทอดสัญญาณร่วมกับ เทคโนโลยีโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดินระบบ ISDB-T ที่มีใช้งานในประเทศญี่ปุ่นและประเทศบราซิล
ในระบบโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดิน ISDB-T ช่องสัญญาณถ่ายทอดใช้ความกว้างแถบความถี่ขนาด 6 MHz (5.57 MHz สำหรับส่งข้อมูลและ 430 kHz สำหรับ guard band) ในแต่ละช่องสัญญาณได้ถูกแบ่งย่อยอีกออกเป็น 13 segment (428 kHz) ซึ่งสัญญาณ 1seg จะถูกถ่ายทอดโดยใช้ segment หนึ่งใน 13 segment นั้น โดยใช้เทคนิคการ modulate สัญญาณแบบ QPSK และ 2/3 forward error corrention ซึ่งระบบมีอัตราการส่งข้อมูล 416 kbit/s ข้อมูลภาพถูกส่งตามมาตรฐาน H.264/MPEG-4 AVC video stream และเสียงตาม HE-AAC audio stream ซึ่งถูก multiplex ลงใน MPEG-2 Transport Stream


มาตรฐาน T-DMB

T-DMB หรือ Digital Media Broadcasting เป็นระบบที่ประเทศเกาหลีใต้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานเองโดยเน้นการใช้งานทางด้านมัลติมิเดียเป็นหลัก และถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับอุปกรณ์พกพาและเคลื่อนที่ได้ เช่นเดียวกันกับมาตรฐาน DVB-H นอกจากนี้ ยังมีบริการข้อมูลด้านต่าง ๆ อย่างเช่น รายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมรายการโทรทัศน์ และ ข้อมูลสภาพการจราจร เป็นต้น
มาตรฐาน T- DMB พัฒนาโดยประเทศเกาหลีจากเทคโนโลยี DAB ที่เป็นมาตรฐานวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน สำหรับเครื่องรับประจำที่และที่ติดตั้งในยานพาหนะ ตามมาตรฐาน ESTI TS 102 427 และ TS 102 428 304 ส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ ระบบแก้ความผิดพลาดแบบไปข้างหน้า (FEC) สามารถมอดูเลตกับสัญญาณ DQPSK กับคลื่น OFDM, ระบบออกแบบเพื่อใช้ในย่านความถี่ VHF Band III (174-230MHz) สาหรับช่องสัญญาณย่อยขนาด 1.5 MHz สามารถส่งรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ 2-3 รายการ มีบริการเชิงพาณิชย์แล้วในประเทศเกาหลี มีเครื่องรับใช้บริการกว่า 6.7 ล้านเครื่อง ส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยม จะเป็นเครื่องรับเฉพาะบริการ T- DMB แบบติดรถยนต์และแบบพกพาไม่สามารถใช้เป็นโทรศัพท์มือถือได้ประมาณ 60% แต่ปัจจุบันมีเครื่องรับมือถือที่รองรับทั้งมาตรฐาน GSM และ T- DMB ควบคู่กัน ประมาณ 40%

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

มาตรฐาน DTV ผ่านเคเบิล

มาตรฐานสากลของเทคโนโลยีระบบโทรทัศน์ดิจิทัลผ่านเคเบิล (Cable digital TV)
 เทคโนโลยีระบบโทรทัศน์ดิจิทัลผ่านเคเบิล (Cable digital TV) เป็นการรับรายการผ่านระบบการกระจายผ่านสายสัญญาณ ไปตามท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งส่งจากศูนย์กลางการส่งสัญญาณโทรทัศน์แห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อถึงบ้านลูกค้าก็ต้องผ่าน Set-top-box เพื่อเข้าเครื่องรับชมต่อไป มาตรฐานสากลต่างๆ ที่สำคัญของโทรทัศน์ดิจิทัลผ่านเคเบิลมีดังนี้.

 มาตรฐาน DVB-C
ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลผ่านเคเบิล DVB-C ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1994 โดยองค์การ Digital Video Broadcasting Project (DVB) ในปัจจุบันมาตรฐาน DVB-C ถูกนำมาใช้งานในระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลทั่วโลกทั้งในระบบโครงข่าย CATV ขนาดใหญ่ รวมไปถึงโครงข่ายขนาดย่อยอื่นๆ เช่นระบบ SMATV มาตรฐาน DVB-C นั้นเป็นส่วนหนึ่งในตระกูลมาตรฐานโทรทัศน์ดิจิทัล DVB โดยระบุถึงเทคนิคการ modulate สัญญาณซึ่งใช้เทคนิค QAM ตั้งแต่ 16-QAM ถึง 256-QAM และสำหรับการส่งข้อมูลภาพและเสียงในระบบ DVB-C นั้นข้อมูลทั้งหมดจะส่งในรูปของ MPEG-2 หรือ MPEG-4
มาตรฐาน DVB-C2
ในการประชุมคณะกรรมการชี้แนะแนวทางการทำงานของโครงการ DVB ซึ่งจัดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2008 ได้มีการประกาศเพื่อที่จะจัดทำมาตรฐานระบบโทรทัศน์ดิจิทัลผ่านเคเบิลยุคที่ 2 (DVB-C2) และเป็นที่คาดหมายกันว่ามาตรฐาน DVB-C2 จะเป็นมาตรฐานสุดท้ายสำหรับการส่งสัญญาณผ่านเคเบิลโดยที่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลผ่านเคเบิล DVB-C2 ใหม่นี้จะใช้เทคนิคการมอดูเลตสัญญาณและการเข้ารหัสที่มีความทันสมัยกว่าระบบ DVB-C ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพในการใช้คลื่นความถี่ (Spectrum efficiency) ที่ดีขึ้น ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และจะทำให้ความสามารถในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 60 เปอร์เซ็นต์โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ต้องพัฒนาจาก DVB-C ไปเป็น DVB-C2 มีดังนี้
1.
มีความต้องการที่จะเพิ่มความจุในการขนส่งข้อมูลเพื่อรองรับบริการใหม่ ๆ อย่างเช่น HDTV และ Video-on-demand (VOD) และบริการที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้บริการ
2.
มีความจำเป็นที่ผู้ให้บริการจะต้องปรับปรุงการให้บริการของตนเอง เพื่อให้สามารถแข่งขันผู้ให้บริการรายอื่น

       ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติทางเทคนิคระหว่าง DVB-C และ DVB-C2
มาตรฐาน ISDB-C
มาตรฐาน ISDB-C ถูกพัฒนาในประเทศญี่ปุ่นโดย ARIB: Association of Radio Industries and Business มาตรฐาน ISDB-C ใช้เทคนิคการบีบอัดสัญญาณตามมาตรฐาน MPEG-2 และส่งสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงรวมกันใน MPEG-2 Transport Stream สำหรับเทคนิคการมอดูเลตสัญญาณที่ใช้ในมาตรฐาน ISDB-C ได้แก่การมอดูเลตสัญญาณแบบ 64-QAM นอกจากนี้ยังใช้รหัสรีดโซโลมอนในการแก้ความผิดพลาดแบบไปข้างหน้า และใช้แบนด์วิดท์ขนาด 6 MHz ซึ่งสามารถรองรับความเร็วในการส่งข้อมูลต่อช่องสัญญาณประมาณ 29 Mbps โดยคุณสมบัติทางเทคนิคของระบบ ISDB-S สามารถสรุปได้ดังตาราง

                         ตารางคุณสมบัติทางเทคนิคของระบบ ISDB-C

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

มาตรฐาน TV ผ่านดาวเทียม ISDB-S

ประเทศญี่ปุ่นได้มีการนำมาตรฐาน DVB-S มาใช้ในปี ค.ศ. 1996 แต่เนื่องจากคุณสมบัติบางประการของมาตรฐาน DVB-S ยังไม่เป็นที่พึงพอใจของผู้ให้บริการแพร่ภาพโทรทัศน์ อย่างเช่น ขีดความสามารถในการให้บริการ HDTV, การปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ, การเข้าถึงโครงข่ายและการใช้ความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มาตรฐานโทรทัศน์ดิจิทัลผ่านดาวเทียม ISDB-S ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย ARIB:Association of Radio Industries and Business มีองค์การ Digital Broadcasting Expert Group (DiBEG) เป็นหน่วยงานส่งเสริมและสนับสนุนระบบให้แพร่หลายในอุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์
มาตรฐาน ISDB-S ทำงานโดยใช้เทคนิคการบีบอัดสัญญาณตามมาตรฐาน MPEG-2 และมีการส่งทั้งสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงรวมกันในกระแสสัญญาณ MPEG-2 ทรานสปอร์ตสตรีม โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบ ISDB-S ถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อสภาพอากาศ และมีอัตราการส่งข้อมูลสูง
ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลผ่านดาวเทียม ISDB-S สามารถให้บริการไม่เฉพาะ กับสัญญาณภาพและเสียงเท่านั้นแต่สามารถให้บริการสื่อประสม (Multimedia) อื่นๆ เช่น การแพร่สัญญาณภาพหรือข้อมูลทางเครือข่ายอินเ ทอร์เน็ต (Data Broadcasting) ได้ และภายในหนึ่งช่องสัญญาณดาวเทียมสามารถใช้ส่งสัญญาณ HTDV ได้ 2 ช่อง คุณสมบัติทางเทคนิคของระบบ ISDB-S สามารถสรุปได้ดังตาราง



ภาพคุณสมบัติทางเทคนิคและข้อกำหนดทางความถี่และช่องสัญญาณของดาวเทียมประเทศญี่ปุ่นที่ใช้มาตรฐาน ISDB-S