วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISDB-T

ISDB : Integrated Service Digital Broadcasting ถูกพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1999 เพื่อทดแทนระบบ NTSC 525 เส้น 60 Hz โดยกลุ่มผู้พัฒนาได้แก่ ARIB (Association of Radio Industries and Business) และมีองค์การ Digital Broadcasting Expert Group (DiBEG) เป็นหน่วยงานส่งเสริมและสนับสนุนระบบให้แพร่หลายทั่วโลกและแก่บริษัทผู้ผลิตในอุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ มาตรฐาน ISDB ครอบคลุมการให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (ISDB-S) เคเบิลทีวี (ISDB-C) และโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (ISDB-T) ทุกมาตรฐานอยู่บนฐานการบีบอัดสัญญาณมาตรฐาน MPEG-2 ทั้งสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงรวมกันในกระแสสัญญาณ MPEG-2 ทรานสปอร์ตสตรีม โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบ ISDB-T มีความยืดหยุ่นสูง สามารถให้บริการไม่เฉพาะสัญญาณภาพและเสียงเท่านั้นแต่สามารถให้บริการสื่อประสม (Multimedia) อื่น ๆ เช่น การกระจายข้อมูล (Data Broadcasting) ได้พร้อมกัน โดยทั่วไปจะส่งสัญญาณโทรทัศน์ความชัดเจนสูง (HDTV) พร้อมด้วยส่งสัญญาณ ISDB-Tsb ที่เรียกว่าแบบ One-Segโดยใช้วิธี BST-OFDM (Band Segmented Transmission) สำหรับโทรทัศน์มือถือ คอมพิวเตอร์Laptop และเครื่องรับในยานพาหนะ
               ภาพ Segmented OFDM รองรับการส่งสัญญาณหลายบริการพร้อมกัน

        ภาพ Hierarchical Transmission Segmented OFDM รองรับการรับสัญญาณสูงสุด 3 แบบ

ช่องสัญญาณความถี่คลื่นวิทยุโทรทัศน์ขนาด 6 MHz จะถูกแบ่งเป็น 13 segment จัดเป็น 2 ส่วนคือช่องความถี่กว้าง ขนาด 12 segment และช่องความถี่แคบ ขนาด 1 segment (ขนาด 430 kHz) รวม 5.6 MHz แต่ละส่วนจัดไว้สำหรับการบริการเฉพาะ คือส่วน 12 segment ส่งสัญญาณโทรทัศน์ความชัดเจนสูง (HDTV) จานวน 1 ช่อง หรือใช้ส่งสัญญาณโทรทัศน์ความชัดเจนมาตรฐาน (SDTV) จำนวนหลายช่องรายการ และส่วน 430 kHz หรือ One-Seg สำหรับโทรทัศน์มือถือ คอมพิวเตอร์Laptop และเครื่องรับในยานพาหนะหรือส่งสัญญาณรายการวิทยุกระจายเสียง ทั้งสองส่วนจะนำมาเข้ารหัสรวมกัน อาศัยวิธีมอดูเลตสัญญาณแบบลำดับชั้น (Hierarchical Modulation) พร้อมกับการมอดูเลตคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์เป็นแบบ OFDM ซึ่งสามารถเลือกใช้คลื่นพาห์จานวน 2k, 4k หรือ 8k ได้ เลือกวิธีผสมสัญญาณได้หลายแบบ คือ DQPSK,QPSK,16QAM และ 64QAM เลือกเข้าอัตราการเข้ารหัสชั้นใน (Internal Code Rate) ได้ 5 วิธีคือ 1/2, 2/3, 3/4, 5/6 และ 7/8 (เช่นเดียวกับ DVB-T)
ในการมอดูเลตสัญญาณแบบลำดับชั้น (Hierarchical Modulation) จัดไว้สำหรับแต่ละ BST ขนาด 430 kHz ข้อมูลการจัดลำดับเหล่านี้ถูกส่งไปยังเครื่องรับโดย TMCC (Transmission and Multiplexing Configuration Control) เนื่องจากทั้งส่วน 5.6 MHz และ 430 kHz อาศัยคลื่น OFDM ร่วมกัน ส่วนสัญญาณในช่องความถี่แคบ 430 kHz จึงอาจรวมอยู่ในส่วนช่องความถี่กว้าง 5.6 MHz ได้ นั่นคือเครื่องรับสำหรับส่วนช่องความถี่แคบ 430 kHz สามารถรับสัญญาณบางส่วนของส่วน 5.6 MHz ได้ ในทางกลับกันเครื่องรับสำหรับส่วนช่องความถี่กว้าง 5.6 MHz สามารถรับสัญญาณได้ทุกบริการ

                                 ตัวอย่างการให้บริการด้วยวิธี Hierarchical Transmission

มาตรฐาน ISDB-T ใช้สัญญาณภาพที่ถูกบีบอัดแบบ MPEG-2 และสัญญาณเสียงแบบ MPEG-2 AAC สำหรับการบริการโทรทัศน์ความชัดเจนสูง (HDTV) และ SDTV เลือกมอดูเลตแบบ 16QAM / 64QAM ส่วนการบริการสัญญาณแบบ One-Seg. ใช้เทคโนโลยีการบีบอัดแบบ MPEG-4 AVC หรือ H.264 และสัญญาณเสียงแบบ MPEG-4 AAC-SBR เลือก มอดูเลตแบบ QPSK ส่วน Data Broadcasting จะเป็นสัญญาณแบบ BML (XTML), ECMA Script ขนาด 20-80 Kbit/s ระบบถูกออกแบบให้มีความทนทานต่อสภาพการรับสัญญาณซ้ำซ้อนจากคลื่นวิทยุแบบ พหุวิถี (Multipath) ได้ดี พร้อมทั้งสามารถเลือกตัวแปรได้หลายมิติ จึงสามารถเลือกส่งข้อมูล ที่อัตราบิต (bit rate) ได้ตั้งแต่ 3.6-23.5 Mbit/s (อัตราบิตที่สูงหมายถึงมีจานวนช่องรายการ ได้มากขึ้น) ตามขนาดช่องความถี่ 6 MHz, และมีอัตราบิตมากขึ้นในช่องสัญญาณ 7 และ 8 MHz บนย่านความถี่ VHF และ UHF ของแต่ละประเทศ นอกจากนั้นยังสามารถเลือกปรับ ตัวแปรของระบบได้หลายมิติ โดยการเลือกอัตราบิตสูงจะทำให้จานวนช่องรายการมากจริง แต่จะจำกัดขอบเขตของพิสัยการให้บริการ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้าน C/N เพราะความทนทานต่อสภาพการรับสัญญาณซ้ำซ้อนจากคลื่นวิทยุแบบ พหุวิถี (Multipath) และการรับชมแบบเครื่องรับพกพาหรือการรับในยานพาหนะขณะเคลื่อนที่
ISDB-T
กำหนดเป้าหมายของระบบ ดังนี้
-
เพิ่มความชัดเจนด้วยรายการโทรทัศน์แบบ HD 1 รายการ
-
หรือให้บริการแบบ SD 3-4 รายการพร้อมกัน
-
สามารถส่งรายการให้แก่ Mobile TV โทรทัศน์มือถือแบบ One-Seg ได้พร้อมกัน
-
การกระจายข้อมูล (Data Broadcasting)
- Engineering Service
เพื่อเพิ่มฟังก์ชันการทางานและแก้ปัญหาของเครื่องรับโทรทัศน์โดยการส่งซอฟต์แวร์
การกระจายข้อมูล (Data Broadcasting) มี 2 บริการ คือ
1. Data
ที่สัมพันธ์กับเนื้อหารายการที่ชมอยู่ และสามารถเข้าถึงระหว่างออกอากาศเท่านั้น
2. Data
ที่ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหารายการที่ชมอยู่ และสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น