วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

การแพร่ภาพในย่านความถี่ VHF และ UHF

ระบบโทรทัศน์สีอะนาล็อกทั่วโลกแพร่ภาพในย่านความถี่ VHF และ UHF เหมือน ๆ กัน แต่การจัดสรรขนาดความกว้างของช่องสัญญาณความถี่วิทยุ จำนวนเส้นสแกน ความถี่ด้านภาพและเสียง จะแตกต่างกันไปตามมาตรฐานการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ที่เลือกใช้
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecom Union) หรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU ได้จัดสรรความถี่ย่าน VHF และ UHF สำหรับกิจการกระจายเสียงและแพร่ภาพ (broadcasting) ไว้ดังนี้คือ
   VHF Band I
ความถี่ 47-72 MHz
   VHF Band II
ความถี่ 87-108 MHz
   VHF Band III
ความถี่ 174-230 MHz
   UHF Band IV, V
ความถี่ 470-890 MHzแต่ประเทศ ส่วนใหญ่ใช้มาตรฐานการส่งโทรทัศน์ บนย่านความถี่ UHF มากกว่าย่านความถี่ VHF เนื่องจาก ในหลายประเทศอาจใช้ความถี่เหล่านี้กับกิจการอื่น ๆ เช่น ประจำที่ (Fixed) หรือเคลื่อนที่ (Mobile) ร่วมกับกิจการกระจายเสียงและแพร่ภาพด้วยภายหลังการประชุม ITU ณ กรุงสต็อกโฮล์ม (Stockholm) ในปี ค.ศ. 1961 ITU ได้กำหนดมาตรฐานการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยใช้ตัวอักษร A-N ผสมกับระบบโทรทัศน์สี (NTSC, PAL และ SECAM) เช่น PAL-B, NTSC-M เป็นต้น ดังปรากฏใน ตารางดังนี้

หมายเหตุ ระบบในแถบสีเทา เป็นระบบที่เลิกใช้แล้ว คือ
A
ระบบ 405 เส้น ความถี่ VHF ในประเทศอังกฤษ
C
ระบบเดิม ความถี่ VHF ในประเทศเบลเยี่ยม
E
ระบบ 819 เส้น ความถี่ VHF ในประเทศฝรั่งเศส ความชัดเจนใกล้เคียง HDTV ปัจจุบัน
F
ระบบ 819 เส้น แต่ BW 7 MHz ความถี่ VHF ในประเทศเบลเยี่ยมและลักแซมเบอร์ก
ระบบ ที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่
B
ทั่วไป ความถี่ VHF เช่น PAL-B, ยกเว้นทวีป ออสเตรเลีย มีทั้ง VHF และ UHF
D
ทั่วไป ย่านความถี่ VHF เช่น SECAM-D, ยกเว้นจีน PAL-D ทั้ง VHF และ UHF
G
ทั่วไป ความถี่ UHF เช่น PAL-G ใช้คู่กับ B ในความถี่ VHF ยกเว้นทวีป ออสเตรเลีย
H
ความถี่ UHF เช่น PAL-H ใช้ในประเทศเบลเยี่ยม ลักแซมเบอร์ก และกลุ่มประเทศยูโกสลาเวียเดิม
I
ความถี่ UHF เช่น PAL–I ใช้ในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ อาฟริกาใต้ มาเก๊า และฮ่องกง
J
ความถี่ VHF เช่น NTSC-J และ UHF ใช้ในประเทศญี่ปุ่น
K
ทั่วไป ความถี่ UHF เช่น SECAM-K ใช้คู่กับ D ในย่านความถี่ VHF
L
ความถี่ VHF Band I เช่น SECAM-L ในประเทศฝรั่งเศส
M
ความถี่ VHF และ UHF เช่น NTSC –M ใช้ในทวีปอเมริกาเหนือ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และ เมียนม่าร์ ส่วนในประเทศบราซิล เป็นระบบ PAL-M
N
ความถี่ VHF และ UHF เช่น PAL-N ใช้ในทวีปอเมริกาใต้ อาเจนตินา ปารากวัย อุรุกวัย
สาหรับประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน ใช้ระบบ PAL-B และ PAL-G ยกเว้น เมียนม่าร์และฟิลิปปินส์ ใช้ระบบ NTSC-M

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น