วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ระบบสื่อสารดิจิตอลสำหรับงาน Broadcasting

(ขอขอบคุณบทความเทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นดิจิตอล จาก อสมท.)          
      
Broadcasting ( การแพร่กระจายคลื่นสัญญาณ )
     ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีระบบสื่อสารโทรคมนาคม เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง บนพื้นฐานของรูปแบบการส่งสัญญาณดิจิตอลซึ่งมีข้อดีกว่าระบบการส่งสัญญาณอนาล็อก เช่น มีความทนทานต่อสัญญาณรบกวน (Noise signal) เป็นผลให้การไดัมาซึ่งสัญญาณข้อมูลเดิม ที่ถูกต้อง มีความเชื่อถือได้ ทั้งนี้ระบบสื่อสารดิจิตอลนั้น จะให้ความยืดหยุ่นสูงในกระบวนการจัดการสัญญาณ แต่จะมีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากกว่าสัญญาณระบบอนาล็อก ระบบสัญญาณดิจิตอลสำหรับงาน Broadcasting นั้น จะเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการผลิตรายการ (Content Production) ไปจนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการส่งสัญญาณแพร่กระจายคลื่นออกอากาศ
      
               

องค์ประกอบของระบบประกอบด้วย



Source Coding
      หมายถึง กระบวนการจัดการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูลดิจิตอลที่เป็นอินพุท
      - สัญญาณดิจิตอลมีการบีบอัดข้อมูล (Compression ) เพื่อให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้น รูปแบบการบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG-2 และ MPEG-4
        ได้มีการนำมาใช้ในงานแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอล
      - หากข้อมูลนั้นต้องการความปลอดภัย จำเป็นต้องมีการปกปิด ก็สามารถใช้กระบวนการ Encyption หรือเรียกว่า Scramble ( การสอดแทรกรหัสไปกับสัญญาณภาพ )
        ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของระบบว่าต้องการความสามารถนี้หรือไม่ การแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอล มีการนำมาใช้งานในขั้นตอนของการผลิตรายการ

Channel Coding
      หมายถึง กระบวนการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งไปบนช่องสัญญาณสื่อสาร เนื่องจากสัญญาณรบกวนสามารถทำให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลทที่ส่งไปยังผู้รับปลายทาง การเข้ารหัสสัญญาณข้อมูลนี้สามารถแก้ไขและป้องกันความผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดขึ้น ณ เครื่องรับปลายทางได้ ระบบสื่อสารดิจิตอลสำหรับงาน Broadcasting มีการใช้งานกระบวนการ Channel Coding คือ FEC (Foward Error correction ) และ lnterleaving

FEC ( Foward Error correction )
      คือ กระบวนการเข้ารหัสข้อมูล ดัวยวิธีการเพิ่มจำนวนบิต หรือเรียกว่า รหัสตรวจสอบ เข้าไปในชุดข้อมูลสำหรับการแก้ข้อมูลบิตที่ผิดพลาดที่เครื่องรับปลายทาง โดยที่รหัสตรวจสอบนั้นสร้างจากกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน รูปแบบวิธีการเข้ารหัสที่ใช้ในงาน Broadcasting เช่นกระบวนการ Convolution Code, Reed-Solomon Code ใช้ในมาตรฐานการส่งสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลระบบ DVB-T เป็นต้น




                  
Interleaving
      คือ การป้องกันความผิดพลาดของข้อมูลที่ส่งไปบนช่องสัญญาณด้วยกระบวนการสลับบิตหรือไบต์ข้อมูลด้านส่งมี 2 รูปแบบคือ Frequency lnterleaving และ Time lnterleaving หากมีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นบนช่องสัญญาณเป็นผลให้ข้อมูลเดิมนั้นเสียหาย เมื่อทำกระบวนการ De-lnterleaving จะทำให้ด้านรับสามารถคาดเดา (Prediction) ข้อมูลที่ถูกต้องได้
    
                 
DigitaI Modulation
      หมายถึง รูปแบบการมอตดูเลชั่น(การผสมสัญญาณ)ที่สัญญาณบิตข้อมูล ทำให้ความถี่ หรือแอมปลิจูด หรือเฟสของสัญญาณคลื่นพาห์ (Carrier) เปลี่ยนแปลงเป็นระดับที่แน่นอน เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณที่มีระดับแน่นอนคือ"0" กับ "1" เท่านั้น รูปแบบดิจิตอลมอตดูเลชั่นที่นิยมใช้งานในระบบ Broadcasting คือ QPSK (Quadrature Phase shift Keying) และ QAM (Quadrature Amplitude Modulation)

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิตอลของทั่วโลก

(ขอขอบคุณบทความเทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นดิจิตอล จาก อสมท.)

     

    ประเทศที่เปลี่ยนมาใช้ระบบ DVB ได้อย่างสมบูรณ์ อยู่ในทวีปยุโรป จำนวน 7 ประเทศ  ระบบ DVB ใช้มากที่สุดในทวีปยุโรป แต่ DTT จะมีปัญหากับระบบเคลื่อนที่ สัญญาณภาพจะขาดหายและไม่ต่อเนื่องเมื่อรับด้วยมือถือและระบบเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง

      อังกฤษ ใช้ระบบ DVB เป็นประเทศแรกในโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 ในรูปแบบ DTT แต่ไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะประชาชนไม่รู้จัก มีสถานีโทรทัศน์จำนวน 48 ช่อง และวิทยุฯ 30 คลื่น ในปี 2008 มีผู้ชมระบบดิจิตอลคิดเป็น 87.6 % และจะหยุดระบบอนาล็อก ในปี ค.ศ. 2012

      ฝรั่งเศส เริ่มใช้ระบบ DVB ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ปัจจุบันเหลือเพียง 17% เป็น Free TV จำนวน 21 ช่อง เพิ่มขึ้น 11 ช่อง และจะปิดระบบอนาล็อก ภายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010

      เยอรมัน เริ่มใช้ระบบ DVB ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002  และดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 7 เมือง เกือบ 100% แล้วทั่วประเทศ และหยุดระบบอนาล็อก ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008  สาเหตุที่ดำเนินการเสร็จได้เร็วเพราะเยอรมันมีการถ่ายทอด TV ที่เก็บค่าบริการ และจำกัดผู้รับชม และผู้รับชมจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องรับโทรทัศน์ตามระบบเครื่องส่ง DVB เพราะถูกบังคับผูกขาดเสียค่าบริการอยู่แล้ว ( ไม่เปลี่ยนก็รับชมไม่ได้ หากเลิกเป็นสมาชิก ผู้ชมรายอื่นก็จะเข้ามาแทน )

       อเมริกา เริ่มใช้ระบบ DTT ของ ATSC ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998  เน้นความคมชัดของการแสดงภาพที่จอมากกว่า จึงเลือกใช้ HDTV และวางแผนที่จะหยุดระบบอนาล็อกในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009  แต่ต้องเลื่อนออกไป เพราะโอบาม่าได้ยับยั้งไว้ในระหว่างที่อเมริกาเกิดการเปลี่ยนแปลงผู้นำ ด้วยเหตุผลว่ามีประชาชนที่ยากจนยังไม่พร้อม และวางกำหนดใหม่เป็นวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2009  ซึ่งในอเมริกามีประชาชนที่รับระบบดิจิตอลแล้ว 15 ล้านครัวเรือน, เลือกรับดาวเทียม 35 ล้านครัวเรือน และยังไม่เปลี่ยนอีก 15 ล้านครัวเรือน รัฐบาลจะสนับสนุนครอบครัวที่มีรายได้น้อย โดยการออกคูปองให้ใบละ 40 ดอลล่า รวม 2 ใบ เพื่อเป็นทุนให้ประชาชนซื้อ Converter ( STB : Set Top Box ) ใช้เป็นตัวแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นอนาล็อกเพื่อใช้งานได้กับโทรทัศน์เครื่องเดิมซึ่งเป็นอนาล็อก

      แคนนาดา เริ่มใช้ระบบ DTT ของ ATSC ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003  และจะหยุดระบบอนาล็อกภายในปี ค.ศ. 2011

      เม็กซิโก เลือกใช้ระบบ DTT ของ ATSC ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006   และจะปิดระบบอนาล็อก ในปี ค.ศ. 2021 ที่ใช้เวลานานกว่า เพราะจะค่อยๆลงทุนและเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีราคาถูกลง ซึ่งเป็นข้อดี แต่ข้อเสียคือหากใช้งานทั้งสองระบบคู่กันไปนานๆ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและค่าไฟฟ้าในการออกอากาศเพิ่มเป็น 2 เท่า

      บราซิล เลือกใช้ ISDB เป็นระบบ DTT  ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เนื่องจากเน้นคุณภาพของสัญญาณ HDTV ที่ดีกว่า เพราะ HDTV ให้คุณภาพของสัญญาณคมชัด แต่เลือกการใช้งานระบบ GSM รับสัญญาณภาพผ่านโทรศัพท์มือถือ และจะหยุดระบบอนาล็อกในปี ค.ศ. 2016

       ในทวีปยุโรปเลือกใช้งาน GSM เป็นระบบมาตรฐานของโลก ทั้งๆที่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นผู้ริเริ่มระบบ GSM มาก่อนแต่ไม่ได้พัฒนาระบบ GSM ไว้รองรับกับระบบ DTT เพราะไม่ได้คาดหวังว่าจะพัฒนาระบบ GSM ให้เป็นมาตรฐานโลก แต่ได้พัฒนา ISDB-Tsb เพื่อรองรับระบบ DTT อยู่แล้ว หากญี่ปุ่นจะเปลี่ยนมาใช้ระบบ GSM ซึ่งตนเองเป็นผู้ริเริ่มก็ไม่ทันเสียแล้ว เพราะได้ลงทุนวางระบบ ISDB ทั้งหมดไปแล้ว

      เหตุนี้เองที่ทำให้ระบบ DVB-T แพร่หลายไปได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก เพราะรองรับกับระบบโทรศัพท์ GSM ที่ทุกประเทศมีใช้ทั่วโลก แล้วยังมีราคาถูก ต้นทุนต่ำ สามารถเลือกนำมาใช้งานได้ทันที ( แต่คุณภาพต่ำกว่า HDTV )

      เกาหลีใต้ เริ่มใช้ระบบ DTT ของ ATSC ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001  เพราะได้รับอิทธิพลมาจากอเมริกา แต่เพราะระบบ ATSC ใช้กับระบบเคลื่อนที่ได้ไม่ดี มีการถกเถียงกันระหว่างข้อดีและข้อเสียของระบบ ATSC และ DVB จึงเปลี่ยนมาใช้ระบบ DVB ในปี ค.ศ. 2004  และจะหยุดระบบอนาล็อกในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2012

      จีน เลือกใช้ระบบ DTT  ตั้งแต่ มกราคม ค.ศ. 2008  และเนื่องจากระบบ Cable TV ภายในประเทศจีนเองที่มีความนิยมมาก และใช้แพร่หลายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีข้อดีแตกต่างกัน จึงเกิดการถกเถียงกันจากนักวิชาการของมหาวิทยาลัยชั้นนำ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยชินหัว ต้องการเลือกใช้ระบบ DVB-T  ส่วนมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เลือกระบบ ATSC จึงมีการตกลงที่จะเลือกข้อดีของทั้ง 2 ระบบนำมาพัฒนาขึ้นใหม่ โดยมีนักวิชาการของมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่ง ร่วมกันพัฒนาเป็นระบบ DMB ( Digital Multimedia Broadcasting ) แบบ DMB-T , DMB-C  และ DMB-H  และจะหยุดระบบอนาล็อกภายในปี ค.ศ. 2015
       ประเทศจีนให้บริการโทรทัศน์แบบเก็บค่าบริการรายเดือน เดิมระบบอนาล็อก ( 50 ช่อง ) เสียค่าบริการ 15-20 หยวน / เดือน ( 15 หยวน = 80 บาท ) และ เรียกเก็บเงินจากผู้รับชมระบบ HDTV Digital เป็นเงิน 120 หยวน / เดือน ซึ่งแพงมาก จึงไม่เป็นที่นิยม และสถานีกลาง CCTV จัดรายการเป็นระบบ HDTV แล้วประชาชนไม่นิยม จึงจูงใจให้ประชาชนซื้อเครื่องรับที่เป็นระบบดิจิตอล โดยสามารถรับชมรายการ HDTV ได้แบบไม่ต้องเสียค่าบริการ ( ฟรีค่าธรรมเนียม 6 เดือน 1 ปี )

      ไต้หวัน เลือกใช้ระบบ DTT  ตั้งแต่ กรกฎาคม ค.ศ. 2004  ทั่วประเทศรับคลื่นโทรทัศน์ 85%  จากเดิมมีสถานีโทรทัศน์ออกอากาศ 5 ช่อง แต่มีสถานีเคเบิลทีวีถึง 100 ช่อง  ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอลแล้วจะทำให้สถานีโทรทัศน์เดิม 5 ช่อง สามารถออกอากาศได้เพิ่มขึ้นสถานีละ 3 ช่อง รวมทั้งหมดเกิดสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล 15 ช่อง ซึ่งมีเนื้อหารายการน้อยกว่าระบบเคเบิลทีวีมาก จึงไม่เป็นที่นิยม เพราะประชาชนสามารถเลือกชมเคเบิลทีวีที่มีรายการหลากหลายมากกว่าถึง 100 ช่อง ทำให้ 4 ปีที่ผ่านมาระบบ DVB ไม่ประสบความสำเร็จในประเทศไต้หวัน และยังไม่มีกำหนดการหยุดใช้ระบบอนาล็อก

………………………………………..

Cost-Benefit Analysis การเปลี่ยนผ่านสู่ TV ดิจิทัล

บทวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis)
ของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัล
โดย...ดร.กัลยา  อุดมวิทิต
รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
------------------------------------------------------------------------------------------------------
กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ผู้กำหนดนโยบาย
กระทรวง ICT, กระทรวงวัฒนธรรม, สำนักนายกฯ (กรมประชาสัมพันธ์), กระทรวงพัฒนาสังคมฯ, กระทรวงอุตสาหกรรม, สมอ.
ผู้กำกับดูแล
กทช., หน่วยงานกำกับดูแลที่จะจัดตั้งขี้นใหม่ (กสช.?)
ผู้บริโภค
ผู้ชม Free TV, ผู้ชม Pay TV
สถานีโทรทัศน์ Free TV
สถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 5, 7, Modern 9, สทท. (NBT), ทีวีไทย (Thai PBS)
ผู้ให้บริการ Cable TV, Satellite TV
ผู้ผลิตรายการ
ผู้ผลิตอุปกรณ์ และ software
ผู้ผลิตโทรทัศน์, ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่อพ่วง, ผู้พัฒนา software, ผู้ให้บริการด้านเทคนิค เช่น ร้านติดตั้งและซ่อม TV จานดาวเทียม
ผู้ให้บริการโครงข่าย
– Cat Telecom, ToT, การไฟฟ้าฯ, Satellite providers
ผู้ให้บริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต
– Telcos, mobile operators, ISPs
อื่น ๆ
- ร้านค้าปลีก, ธนาคารและบริษัทการเงิน, บริษัทโฆษณา, เจ้าของอาคารชุด, นักแสดง
ขอบเขตการศึกษา
ผลกระทบทางตรงต่อสถานีโทรทัศน์ ผู้บริโภคและสังคมในภาพรวม
ประเมินมูลค่าต้นทุนและผลประโยชน์ทางการเงิน
คำนวณเฉพาะต้นทุนและผลประโยชน์ส่วนเพิ่มจากการมีนโยบายการเปลี่ยนผ่านฯ
อายุโครงการ 8 ปี โดยเริ่มในปี ค.. 2011

รัฐจะต้องอุดหนุนค่า set top box เท่าใด หากเริ่มต้นระบบดิจิทัลในปี 2011
และยุติระบบอนาล็อกในปี 2015

อัตราการขยายตัวของครัวเรือน
ในการับDTV
Net Benefit
(ล้านบาท,
มูลค่าในปี
2011)
ครัวเรือนที่ยัง            ไม่มีเครื่องรับ
ดิจิทัลในปี
2015
งบประมาณอุดหนุน
ค่า set-top box
(ล้านบาท, มูลค่าในปี 2011)
เร็ว
46,083
5%
431
ปานกลาง
44,227
10%
862
ช้า
41,665
35%
3,016

ประโยชน์และต้นทุนทางอ้อมในแง่มุมอื่นที่ไม่ใช่การเงิน
ที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย
ประโยชน์
      1. การป้องกันสาธารณภัยและการป้องกันประเทศ
2. เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่
3. การสร้างงานและอาชีพ
4. สร้างโอกาสทางสังคมและการเรียนรู้
ต้นทุน
1. ขยะอิเล็กทรอนิกส์
2. ต้นทุนในการสร้างบุคลากร

----------------------------------------

สรุปบรรยาย “แนวทางการจัดทำนโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่ TV ดิจิทัลไทย"

สรุปสาระสำคัญการบรรยาย
เรื่อง แนวทางการจัดทำนโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลสำหรับประเทศไทย
วันพฤหัสบดี ที่ 8 กรกฎาคม 2553   เวลา 10.30 12.00 น.
 โดย...ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์
 ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
หัวข้อการบรรยาย
1. ความจำเป็น ประโยชน์และผลกระทบของการปรับเปลี่ยนการแพร่ภาพโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิทัล
2.มาตรฐานระบบโทรทัศน์ดิจิทัลและการเลือกรับของประเทศต่างๆ
3.บทวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (cost-benefit analysis) ของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทย
4. ข้อเสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์             ดิจิทัลในประเทศไทย
5. ข้อเสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์             ดิจิทัลในประเทศไทย
ทางเลือกในการรับบริการโทรทัศน์ในประเทศไทย
โทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial TV)
ช่อง 3, 5, 7, Modern 9, สทท. (NBT), ทีวีไทย (ThaiPBS)
ครอบคลุมพื้นที่ 98% ของประเทศ              99% ของครัวเรือน
โทรทัศน์ทางสาย (Cable TV) และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (Satellite TV)
ผู้ให้บริการ ประมาณ 300 ราย
สมาชิก ประมาณ 4 ล้านครัวเรือน              25% ของครัวเรือน
โทรทัศน์ผ่านสื่อใหม่ เช่น IPTV, mobile TV
ทำไมต้องปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัล ?
- วิวัฒนาการของเทคโนโลยี : Analog Digital , HDTV , Mobile TV , IPTV , etc.
- การพัฒนาบริการใหม่ ๆ
- การแข่งขันทางธุรกิจ : content , network , Electronics
- การหลอมรวมสื่อ (media convergence)
- โอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

ประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล
ภาพและเสียงที่คมชัดขึ้น (ประโยชน์ต่อผู้บริโภค)
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้คลื่นความถี่  จำนวนช่องรายการที่เพิ่มมากขึ้น , สามารถนำคลื่นบางส่วนมาจัดสรรสำหรับบริการสื่อสารสมัยใหม่ (ประโยชน์ต่อรัฐ, ผู้บริโภค , สถานีโทรทัศน์, ผู้ผลิตรายการ, ผู้ประกอบการรายใหม่)
พัฒนาบริการใหม่ ๆ เช่น HDTV, interactive TV, pay-per-view, mobile TV, picture radio (ประโยชน์ต่อผู้บริโภค, สถานีโทรทัศน์)
พัฒนา ICT, บริการ e-government, television-government ประโยชน์ต่อรัฐ, ผู้บริโภค)
ส่งเสริมการแข่งขัน (ประโยชน์ต่อผู้บริโภค)
พัฒนาอุตสาหกรรม content และ electronics ในประเทศ (ประโยชน์
ต่อผู้ผลิต content, electronics - set-top box และ software)

ผลกระทบจากปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล
ด้านเศรษฐกิจ
ผู้บริโภค : ค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัล หรือ ติดตั้ง G set-top box  ที่มี digital tuner เพิ่มเติมกับเครื่องรับโทรทัศน์ระบบอนาล็อก (ราคา set-top box รุ่นพื้นฐานประมาณ 1,000 – 1,500 บาท)
สถานีโทรทัศน์: เงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับแพร่ภาพโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิทัล + ค่าใช้จ่ายในการออกอากาศในระบบดิจิทัลและระบบอนาล็อกคู่ขนานกันไประยะหนึ่ง
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
อาจเกิดการไหลบ่าของวัฒนธรรมต่างชาติ vs โอกาสในการรุกตลาดต่างประเทศ
ด้านสิ่งแวดล้อม
ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากโทรทัศน์อนาล็อก และอุปกรณ์ต่อพ่วง
ด้านการศึกษาและการจ้างงาน
หลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด
- อาชีพที่อาจหายไป เช่น ช่างซ่อมโทรทัศน์

การเลือกรับมาตรฐานโทรทัศ์นดิจิทัลของประเทศต่างๆ
การเลือกรับมาตรฐานของไทย
มติที่ประชุมรัฐมนตรีสารสนเทศอาเซียนหรือ AMRI (ASEAN Ministers Responsible for Information) ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 ที่จาการ์ตา อินโดนิเซีย สนับสนุนให้รับ DVB-T เป็นมาตรฐานร่วมของอาเซียนสำหรับการแพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
ประเทศไทยมีแนวโน้ม ค่อนข้างแน่นอนที่จะเลือกระบบ DVB-T เป็นมาตรฐานโทรทัศน์            ดิจิทัลภาคพื้นดิน เนื่องจากคุณสมบัติทางเทคนิคที่เหนือกว่า ATSC และความนิยมแพร่หลายที่มากกว่า ISDB-T
ใช้ช่องความถี่ที่ว่างอยู่ในย่าน UHF Band IV (ช่อง 26-34) และ Band V (ช่อง 35-54)            ความกว้าง 8 MHz เป็นช่องสำหรับแพร่ภาพโทรทัศน์ดิจิทัล
เนื่องจาก DVB-T มีความยืดหยุ่นข้อกำหนดทางเทคนิคและมาตรฐานของระบบย่อยต่างๆ (เช่น การบีบอัดภาพและเสียง) จึงต้องมีการพิจารณาต่อไปโดยพิจารณาจากคุณสมบัติด้านต่างๆทั้งด้านเทคนิคและด้านเศรษฐกิจ

ความก้าวหน้าในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดินของ ประเทศต่างๆ
ประเทศที่ปรับเปลี่ยนสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลเสร็จเรียบร้อยแล้ว
Luxembourg – 1 กันยายน 2006
Netherlands – 11 ธันวาคม 2006
Finland – 1 กันยายน 2007
Andorra – 25 กันยายน 2007
Sweden – 15 ตุลาคม 2007
Switzerland – 26 พฤศจิกายน 2007
Belgium – 3 พฤศจิกายน 2008
Germany – 25 พฤศจิกายน 2008
USA – 12 มิถุนายน 2009
• ITU แนะนำให้ยุติโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อกภายในปี 2015 และมีช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านฯ  4 – 8 ปี
• EU แนะนำประเทศสมาชิกยุโรปให้ยุติโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อกภายในปี 2012
ที่ประชุมรัฐมนตรีสารสนเทศอาเซียนหรือ AMRI ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 3-6 พฤศจิกายน 2552 ที่ประเทศลาวเห็นชอบให้ประเทศสมาชิกอาเซียนกำหนดช่วงเวลายุติโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อกในช่วงปี 2015 – 2020
การกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านฯ

ประเทศ
มาตรฐานที่เลือกใช้
ปีที่เริ่มออกอากาศในระบบดิจิทัล
กำหนดการยุติการออกอาศในระบบอนาล็อก
อังกฤษ
DVB-T
1998
2012
อิตาลี
DVB-T
2003
2012
ฝรั่งเศส
DVB-T
2004
2011
ออสเตรเลีย
DVB-T
2001
2013
นิวซีแลนด์
DVB-T
2007
2013-2015
ญี่ปุ่น
ISDB-T
2003
24 กรกฎาคม 2011
สหรัฐอเมริกา
ATSC
1999
12 มิถุนายน 2009
จีน
DMB-T/H
2004
2012-2015


----------------------------------------------------

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประโยชน์เมื่อเปลี่ยนมาใช้ DTV

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปลี่ยนมาใช้คลื่นสัญญาณแบบดิจิตอล
(ขอขอบคุณบทความเทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นดิจิตอล จาก อสมท. )                                  
                       
      การแพร่กระจายคลื่นแบบอนาล็อกมีขีดจำกัดในการส่งสัญญาณ ซึ่งใช้ความกว้างช่องสัญญาณมาก คลื่นสัญญาณถูกรบกวนได้ง่าย สัญญาณภาพมีคุณภาพต่ำ ไม่สามารถประยุกต์ไปใช้งานร่วมกับสื่อผสมอื่นๆได้ จึงต้องคิดค้นการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลขึ้นมาใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและกระโดดข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น

     ประโยชน์จากการเปลี่ยนมาใช้การแพร่คลื่นแบบดิจิตอลนี้ เกิดจากข้อจำกัดที่สำคัญ 4 ประการ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เองที่นำไปสู่เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่ระบบการแพร่กระจายคลื่นระบบดิจิตอล และทำให้ผู้รับบริการได้รับผลประโยชน์นี้ได้โดยตรง คือ

1. Bandwidth Efficiency ( ใช้ความกว้างช่องสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ )
      สามารถจัดสรรช่องสัญญาณความถี่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากเดิมเป็นระบบอนาล็อกใช้ช่องสัญญาณหนึ่งช่องต่อหนึ่งรายการและวางช่องสัญญาณคลื่นความถี่ติดกัน หรือสถานีส่งฯใกล้เคียงกัน ไม่สามารถใช้ช่องสัญญาณความถี่ที่อยู่ติดกันได้ แต่ในระบบดิจิตอลสามารถที่จะใช้ช่องสัญญาณความถี่ติดกัน ทำให้ใช้ช่องสัญญาณได้เต็มที่ครบทุกๆช่อง และสามารถออกอากาศในพื้นที่ใกล้เคียงกันได้โดยไม่รบกวนกัน และในหนึ่งช่องสัญญาณสามารถออกอากาศได้หลายๆรายการไปพร้อมๆกัน ( Multi Channel ) ทำให้ส่งรายการได้มากขึ้นกว่าเดิม เช่น จากระบบอนาล็อกใช้ช่องสัญญาณ CH21 ถึง CH69 ( 48 ช่อง ) ใช้ออกอากาศหนึ่งช่องต่อหนึ่งรายการโทรทัศน์ซึ่งเท่ากับ 48 รายการเท่านั้น หากเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล ช่องหนึ่งสามารถส่งได้ 4 รายการ ทำให้สามารถออกอากาศรายการโทรทัศน์ได้ 4x48 จะเท่ากับ 192 รายการ ( เป็นการยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นเท่านั้น )

2. Quality Reliability ( สัญญาณมีคุณภาพที่ดีและไม่มีการรบกวน )
      ระบบอนาล็อกมีการผสมคลื่นแบบต่อเนื่อง ( Analog ) สภาวะแวดล้อมมีผลกระทบทำให้เกิดการรบกวนและลดทอนสัญญาณลง สัญญาณภาพจะถูกรบกวนและถูกซึมซาบไปมาก ทำให้มีสัญญาณแปลกปลอมสอดแทรกเข้ามารบกวนได้ง่าย การรับชมภาพจึงไม่ชัดเจน สัญญาณภาดขาดหายและเกิดสโนว์เข้ามารบกวนได้
     แต่ระบบดิจิตอลมีการผสมคลื่นแบบเข้ารหัสสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง ( Digital ) มีการเข้ารหัส ( Decode ) , ถอดรหัส ( Encode ) และมีระบบควบคุมเพื่อชดเชยสัญญาณได้ด้วย จึงทำให้สัญญาณไม่ถูกรบกวนได้ สัญญาณภาพมีความต่อเนื่อง ภาพที่รับได้มีความคมชัดมาก

3. Compatibility ( รูปแบบสัญญาณเป็นมาตรฐานเดียวกัน )
      ระบบอนาล็อกแบบเดิมมีสัญญาณภาพหลายมาตรฐาน คือ PAL, NTSC, SECAM ทำให้การควบคุมคุณภาพ, การตัดต่อภาพและตกแต่งภาพระหว่างมาตรฐานที่แตกต่างกันทำได้ยาก และยังทำให้คุณภาพด้อยลงเมื่อผ่านกระบวนการตัดต่อหลายๆครั้ง
      ระบบดิจิตอลใช้มาตรฐานการเข้ารหัสภาพแบบเดียว คือ MPEG-2 ซึ่งให้คุณสมบัติของภาพที่หลากหลาย มีกระบวนการสร้างภาพที่ซับซ้อนกว่า แต่ให้คุณภาพที่ดีมากกว่า สามารถนำไปใช้งานในสื่อผสมอื่นๆที่หลากหลาย เป็นที่นิยมแพร่หลายที่สุดในขณะนี้ ทำให้การนำไปใช้งานได้ครอบคลุมทุกวงการการสื่อสารเป็นมาตรฐานเดียวกัน

4. Scalability ( ขนาดของการมองภาพที่ให้มุมมองภาพที่ดีขึ้น )
      ระบบอนาล็อกมีขนาดของการมองภาพที่แคบ ( 758 x 578 - PAL อัตราส่วนภาพ 4:3 ) และภาพมีความละเอียดต่ำ การแสดงผลที่จอภาพไม่มีความชัดเจน ยิ่งจอภาพมีขนาดมากขึ้นยิ่งให้รายละเอียดต่ำกว่า ซึ่งเป็นแบบ SDTV ( Standard Definition Television ) ทั่วไป ยิ่งนำไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ที่มีหน้าจอขนาดใหญ่มากๆ ทำให้ภาพขาดความชัดเจน     
      แต่ระบบดิจิตอลสามารถเลือกการเข้ารหัสสัญญาณภาพได้หลายขนาด ( 1080 x 720 , 1920 x 1080 ที่อัตราส่วนภาพ 16:9 ) ให้ความละเอียดสูง ทำให้การแสดงผลที่จอภาพมีความคมชัดสูงแบบ HDTV ( High Definition Television ) มีมุมมองภาพที่กว้างมากขึ้น ( Width Screen ) ภาพที่ได้ดูสมจริงและมองเห็นภาพได้กว้างขวางมากขึ้น

                                               
                       
การเปลี่ยนมาใช้ระบบการแพร่สัญญาณแบบดิจิตอลยังมีประโยชน์อื่นๆอีกหลายด้าน โดยแบ่งเป็นแต่ละประเภทๆ ที่จะนำมากล่าวก็เพื่อแสดงถึงลักษณะต่างๆที่สถานีโทรทัศน์สามารถพัฒนาระบบดิจิตอลนี้ไปประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมกับประเทศของเรา ซึ่งที่ญี่ปุ่นได้ทำไปแล้ว อันเกิดจากความมุ่งมั่นที่จะนำมาพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ เช่น

1. HDTV ( High Definition Television )
     ซึ่ง HDTV นี่เองเป็นเหตุผลแรกเลยที่ทำให้เกิดการพัฒนาเข้าสู่ระบบดิจิตอล, HDTV มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "โทรทัศน์ความคมชัดสูง" หรือ "โทรทัศน์รายละเอียดสูง" ซึ่งระบบ Digital สามารถแสดงภาพที่มีขนาดความคมชัดที่ดีกว่าโทรทัศน์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันที่เป็นระบบ Analog  ดังนั้น HDTV จึงเป็นโทรทัศน์ที่มีคุณภาพทั้งภาพและเสียงสูงกว่าโทรทัศน์ทั่วไป มีระดับความคมชัดสูงสุด มีมุมมองภาพที่กว้างขึ้น มีจอแสดงภาพที่กว้างมากกว่าโทรทัศน์ปัจจุบัน ระบบเสียงเป็นแบบรอบทิศทาง เหมือนกับการรับชมภาพจากจอภาพยนตร์ ที่ผู้ชมจะได้รับชมภาพที่สมจริงมากยิ่งขึ้น

2. Multi-Channel Service
     เพิ่มการให้บริการช่องสัญญาณที่หลากหลาย ในระบบดิจิตอลสามารถส่งสัญญาณภาพ(เรียกว่าโปรแกรม หรือรายการ)ไปได้มากขึ้น รายการโทรทัศน์ ( SDTV ) จะถูกส่งสัญญาณไปได้พร้อมๆกันหลายรายการ โดยผ่านช่องสัญญาณ( Bandwith ) เพียงช่องเดียว ซึ่งมีความกว้างเพียง 6 MHz.

3. Interactive Service
     การแพร่คลื่นระบบดิจิตอลสามารถทำเป็นระบบตอบสนอง,รับและส่งข้อมูลระหว่างสถานีฯกับผู้ชมรายการได้ เป็นบริการเสริมสำหรับการจัดรายการโทรทัศน์ที่ผู้รับชมสามารถเลือกข้อมูลสำหรับตอบโต้กับรายการโทรทัศน์ได้ผ่านอุปกรณ์เชื่อมโยงสัญญาณอื่นๆที่ติดตั้งเสริมขึ้นมา

4. Data Broadcasting
     การให้บริการข้อมูลที่ส่งไปพร้อมสัญญาณภาพ ( Video ) ในระบบดิจิตอลสามารถใส่รายละเอียดข้อมูลต่างๆ ไปพร้อมสัญญาณ Video เพื่อให้ผู้รับบริการเลือกเปิดดู หรือใช้ค้นหาข้อมูลเสริมอื่น หรือเปิดดูรายการโทรทัศน์ เป็นการให้บริการข้อมูลที่หลากหลายผ่านช่องรายการโทรทัศน์

5. Mobile Reception
    การแพร่กระจายคลื่นระบบดิจิตอลรองรับการส่งสัญญาณผ่านอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆได้ โดยผู้รับบริการสามารถรับสัญญาณภาพและเสียงด้วยโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ทุกสถานที่และทุกเวลา ที่มีสัญญาณส่งไปถึง

                                               
                       
6. Robustness against Multi-Path
      สัญญาณดิจิตอลมีความคงทนต่อความผิดพลาดเมื่อระบบเกิด Error ขึ้น ( Robustness ) เมื่อเกิดการปะทะหรือสอดแทรกจากสัญญาณเดียวกันสะท้อนมาจากหลายๆทิศทาง (Multi-Path) โดยใช้กรรมวิธีการผสมคลื่นแบบ QPSK ทำให้สัญญาณมีอัตราส่วนของสัญญาณรบกวนต่ำ และสร้างคลื่นพาหะย่อยด้วยกระบวนการ OFDM ( Orthogonal Frequency Divition Multiplex ) ในแต่ละสัญญาณพาหะย่อยจะถูกทำให้รูปร่างมีความตั้งฉากซึ่งกันและกันกับสัญญาณพาหะย่อยอื่นๆ ด้วยวิธีการจัดการสัญญาณในลักษณะนี้ทำให้แม้แต่สัญญาณพาหะย่อยที่อยู่ใกล้กันซ้อนทับกันก็ไม่ก่อให้เกิดการรบกวนซึ่งกันละกัน และเสริมกระบวนการสลับข้อมูลอีก 2 ลักษณะคือการสลับข้อมูลทางด้านแกนเวลาและทางด้านความถี่ของสัญญาณ  ( Frequency and Time Interleaving ) เพื่อป้องกันการผิดพลาดจากการรบกวนแถบสัญญาณข้อมูล(รายการภาพและเสียง) และข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบความผิดพลาดจะถูกส่งไปพร้อมกับสัญญาณพาหะย่อยที่แยกจากกันด้วย ดังนั้นการแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลในแต่ละสัญญาณพาหะย่อย จะใช้วิธีการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดที่ปลายทาง เรียกกระบวนการนี้ว่า FEC (Forward Error detection and Correction)
                       
                                               
7. Guard Interval
    ป้องกันการสอดแทรกรบกวนของสัญญาณเงา, สัญญาณสะท้อน

8. Single Frequency Network ( SFN )
     รายการเดียวกันออกอากาศความถี่เดียวกัน อยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกัน สามารถออกอากาศได้โดยคลื่นสัญญาณไม่ทับซ้อนกัน               
                       
                       
9. EPG ( Electronic Program Guide )
      ถือเป็นบริการ Data Boardcasting ประเภทหนึ่ง เป็นบริการข้อมูลส่งไปพร้อมกับสัญญาณภาพ เป็นเสมือนแผนผังของรายการต่างๆที่เป็นข้อความบอกถึงรายละเอียดต่างๆ ทำให้ผู้รับบริการสามารถเปิดเลือกชมรายละเอียดการออกอากาศ อาทิ ค้นหาผังรายการ, เวลาเริ่มและเวลาจบของรายการ, ข้อมูลสั้นๆประกอบรายการ, ตรวจสอบสภาพภูมิอากาศ, พยากรณ์อากาศ, ค้นหารายการท้องถิ่น, บอกรายละเอียดบริการเสริมอื่นๆ ฯลฯ  ในประเทศญี่ปุ่นจะแสดงรายการโทรทัศน์ล่วงหน้าได้ 8 วัน ผู้ชมสามารถใช้รีโมทกดปุ่มเลือกค้นหารายการที่กำหนดใว้ หรือเลือกแสดงข้อมูลต่างๆได้สะดวกด้วยตนเองและสามารถตั้งเวลาเพื่อบันทึกรายการ ตามที่ผังรายการกำหนดไว้ได้ โดยผ่านตัวรีโมท  ควบคุมผ่าน Set Top Box (STB) ที่เชื่อมต่อกับ Recorder ได้โดยตรง ( หากต่ออุปกรณ์บันทึกร่วมกับ STB )

      บริการ EPG ( Electronic Program Guide ) มี 2 ลักษณะ คือ Present Program ( ข้อมูลปัจจุบัน ) และ Following Program ( ข้อมูลต่อไป ) ใช้โปรแกรมภาษา BML ( Broadcast Markup Language )
                       
                                               
10. Data Online
       เป็นบริการเสริมเช่นเดียวกับ Data Broadcasting สามารถเปิดเชื่อมข้อมูลเข้ากับเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ตและบริการออนไลน์ ได้พร้อมๆกับเลือกชมรายการโทรทัศน์ ค้นหาและเชื่อมต่อข้อมูลได้ตลอดเวลาแบบ Real Time คล้ายๆ โปรแกรม WAP ผ่านระบบมือถือ โดยต้องต่อสาย Network ผ่าน ADSL หรือ IP Internet อื่นๆ เช่น เปิด Email, ค้นหาข้อมูล หรือใช้สำหรับผู้รับบริการสามารถทำธุรกรรมต่างๆผ่านรายการโทรทัศน์ได้หลากหลาย เช่นอาจทำเป็นระบบ E- Commerce มีการสั่งซื้อสินค้าผ่านรายการโทรทัศน์ได้นั่นเอง ( ขึ้นอยู่กับว่าสถานีโทรทัศน์ทำขึ้นมาให้บริการ )

                                               
11. Closed Captioning
      บริการนี้เกิดขึ้นก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือคนหูหนวกหรือผู้มีปัญหาทางการได้ยิน ไม่ให้มีอุปสรรคในการรับชมรายการ อนึ่งคุณสมบัติ Closed captioning นี้จะคล้ายคลึงกับ Captioning ที่มีในเครื่องรับทีวีอนาล็อกชนิดสนับสนุนฟังก์ชั่น Teletext   โดยลักษณะของบริการ Closed captioning โดยทั่วไปจะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีดําปรากฏอยู่ด้านล่างของจอภาพ ภายในแสดงข้อความที่ตัวละครกําลังพูดอยู่ในขณะนั้น                                    
                       
12. Multi-view
      เป็นบริการเสริมอย่างหนึ่งที่ทําให้อรรถรสในการรับชมรายการมีมากขึ้น ด้วย Multi-view จะทําให้ผู้รับชมรายการหลักสามารถเลือกดูภาพจากมุมกล้องอื่นๆนอกเหนือจากที่ ปรากฏอยู่บนหน้าจอในเวลานั้นได้ รวมถึงการได้รับข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับรายการ ขณะนั้นเพิ่มเติม ประเภทของรายการหลักที่จะได้ประโยชน์จาก Multi-view อย่างชัดเจนก็คือรายการกีฬา เช่น รายการแข่งขันเทนนิส, แข่งรถยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้การส่ง multi-view จะใช้ช่องสัญญาณเพิ่มเติมสําหรับส่งผ่านบริการไปยังผู้ชมปลายทาง อาทิเช่น ใช้ 1 ช่อง เป็นช่องหลักออกอากาศรายการกีฬาพร้อมๆกับอีก 2 ช่องเพิ่มเติมเป็นบริการ Multi-view โดยช่องหนึ่งใช้ส่งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อเกมการแข่งขัน (Comment) ขณะที่ช่องที่สองจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการเล่นในเกม ( Detail )                     
                                               
13. Emergency Warning
      ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว, สึนามิ, อุทกภัย ฯลฯ เป็นการแจ้งข่าวเตือนภัย เมื่อเกิดภัยพิบัติ จะแจ้งข่าวการเกิดเหตุทันทีโดยอัตโนมัติ เป็นระบบ EWBS ( Emergency Warning Broadcasting System ) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ก.ย. 1985 ในญี่ปุ่น ปัจจุบันมีการศึกษาการเตือนภัยผ่านโทรศัพท์ แต่มีข้อเสียคือสายไม่ว่าง เนื่องจากการใช้งานฉุกเฉิน หรือต้องแจ้งทีละเครื่องทำให้เสียเวลา แต่กรณีแจ้งผ่านสถานีโทรทัศน์ สามารถทำได้พร้อมกัน เพราะมีผู้รับชมโทรทัศน์อยู่จำนวนมาก สามารถแจ้งเตือนภัยได้ทันที และสามารถแจ้งข่าวและประเมินความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแบ่งเป็นแต่ละเขตได้ทันที
      ระบบเตือนภัยจะถูกเชื่อมกับศูนย์ตรวจสอบแผ่นดินไหวตลอดเวลา หากมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ข้อมูลจะถูกส่งมาที่สถานีโทรทัศน์และระบบแจ้งเตือนภัยจะทำการตัดภาพโทรทัศน์ แสดงข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหว และแสดงข้อมูลต่างๆแจ้งเตือน ได้ทันทีเป็นอัตโนมัติบนหน้าจอโทรทัศน์
                                               
                       
14. Contents Protection
      ปกป้องลิขสิทธิ์ของสัญญาณที่แพร่ภาพได้ด้วยการเข้ารหัสสัญญาณ Scramble ได้ หรือทำระบบป้องกันการบันทึกภาพ Copyright Protection (DRM) หรือการสมัครสมาชิกโดยออกบัตร B-CAS เพื่อควบคุมการใช้งานผ่านตัวเครื่อง STB


15. Hierarchical Transmission
       การส่งสัญญาณแบบมีลำดับชั้น, สามารถจัดลำดับการนำเข้าของข้อมูลหรือรายการโดยสามารถเลือกเข้ารหัสสัญญาณได้ต้องการในการส่งสัญญาณ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของผู้รับบริการ ที่มีผลกระทบต่อสัญญาณที่ส่งออกไป ว่าสภาพแวดล้อมเป็นเมืองใหญ่มีตึกสูง หรือภายในอาคารชั้นใต้ดิน, ชานเมืองเป็นที่โล่ง หรือบริเวณที่มีภูเขา หรือการส่งสัญญาณให้กับยานพาหนะความเร็วสูง ฯลฯ สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันนี้เองทำให้สภาพสัญญาณที่ต้องการส่งมีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะภูมิประเทศ จะให้รายการใดมีความทนทานต่อการรบกวนมากแต่ได้คุณภาพน้อย หรือต้องการให้สัญญาณมีคุณภาพมากแต่มีความทนทานต่ำ ก็สามารถทำได้ตามลักษณะภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมนั้นๆ

16. Speech Rate Converter
      สามารถส่งสัญญาณ SDTV และ HDTV ไปได้พร้อมๆกัน และสามารถแปลงสัญญาณระหว่าง SD กับ HD ที่เครื่องรับโทรทัศน์ปลายทางได้สะดวก แม้เครื่องรับโทรทัศน์ที่ไม่เป็นแบบ HD ก็สามารถรับสัญญาณแบบ HD มาแสดงออกที่หน้าจอโทรทัศน์เป็นแบบ SD ได้

17. Engineering Service
      สามารถรองรับบริการเสริมเทคโนโลยีด้านต่างๆ ได้อีกในอนาคต