วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิตอลของทั่วโลก

(ขอขอบคุณบทความเทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นดิจิตอล จาก อสมท.)

     

    ประเทศที่เปลี่ยนมาใช้ระบบ DVB ได้อย่างสมบูรณ์ อยู่ในทวีปยุโรป จำนวน 7 ประเทศ  ระบบ DVB ใช้มากที่สุดในทวีปยุโรป แต่ DTT จะมีปัญหากับระบบเคลื่อนที่ สัญญาณภาพจะขาดหายและไม่ต่อเนื่องเมื่อรับด้วยมือถือและระบบเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง

      อังกฤษ ใช้ระบบ DVB เป็นประเทศแรกในโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 ในรูปแบบ DTT แต่ไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะประชาชนไม่รู้จัก มีสถานีโทรทัศน์จำนวน 48 ช่อง และวิทยุฯ 30 คลื่น ในปี 2008 มีผู้ชมระบบดิจิตอลคิดเป็น 87.6 % และจะหยุดระบบอนาล็อก ในปี ค.ศ. 2012

      ฝรั่งเศส เริ่มใช้ระบบ DVB ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ปัจจุบันเหลือเพียง 17% เป็น Free TV จำนวน 21 ช่อง เพิ่มขึ้น 11 ช่อง และจะปิดระบบอนาล็อก ภายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010

      เยอรมัน เริ่มใช้ระบบ DVB ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002  และดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 7 เมือง เกือบ 100% แล้วทั่วประเทศ และหยุดระบบอนาล็อก ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008  สาเหตุที่ดำเนินการเสร็จได้เร็วเพราะเยอรมันมีการถ่ายทอด TV ที่เก็บค่าบริการ และจำกัดผู้รับชม และผู้รับชมจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องรับโทรทัศน์ตามระบบเครื่องส่ง DVB เพราะถูกบังคับผูกขาดเสียค่าบริการอยู่แล้ว ( ไม่เปลี่ยนก็รับชมไม่ได้ หากเลิกเป็นสมาชิก ผู้ชมรายอื่นก็จะเข้ามาแทน )

       อเมริกา เริ่มใช้ระบบ DTT ของ ATSC ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998  เน้นความคมชัดของการแสดงภาพที่จอมากกว่า จึงเลือกใช้ HDTV และวางแผนที่จะหยุดระบบอนาล็อกในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009  แต่ต้องเลื่อนออกไป เพราะโอบาม่าได้ยับยั้งไว้ในระหว่างที่อเมริกาเกิดการเปลี่ยนแปลงผู้นำ ด้วยเหตุผลว่ามีประชาชนที่ยากจนยังไม่พร้อม และวางกำหนดใหม่เป็นวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2009  ซึ่งในอเมริกามีประชาชนที่รับระบบดิจิตอลแล้ว 15 ล้านครัวเรือน, เลือกรับดาวเทียม 35 ล้านครัวเรือน และยังไม่เปลี่ยนอีก 15 ล้านครัวเรือน รัฐบาลจะสนับสนุนครอบครัวที่มีรายได้น้อย โดยการออกคูปองให้ใบละ 40 ดอลล่า รวม 2 ใบ เพื่อเป็นทุนให้ประชาชนซื้อ Converter ( STB : Set Top Box ) ใช้เป็นตัวแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นอนาล็อกเพื่อใช้งานได้กับโทรทัศน์เครื่องเดิมซึ่งเป็นอนาล็อก

      แคนนาดา เริ่มใช้ระบบ DTT ของ ATSC ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003  และจะหยุดระบบอนาล็อกภายในปี ค.ศ. 2011

      เม็กซิโก เลือกใช้ระบบ DTT ของ ATSC ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006   และจะปิดระบบอนาล็อก ในปี ค.ศ. 2021 ที่ใช้เวลานานกว่า เพราะจะค่อยๆลงทุนและเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีราคาถูกลง ซึ่งเป็นข้อดี แต่ข้อเสียคือหากใช้งานทั้งสองระบบคู่กันไปนานๆ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและค่าไฟฟ้าในการออกอากาศเพิ่มเป็น 2 เท่า

      บราซิล เลือกใช้ ISDB เป็นระบบ DTT  ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เนื่องจากเน้นคุณภาพของสัญญาณ HDTV ที่ดีกว่า เพราะ HDTV ให้คุณภาพของสัญญาณคมชัด แต่เลือกการใช้งานระบบ GSM รับสัญญาณภาพผ่านโทรศัพท์มือถือ และจะหยุดระบบอนาล็อกในปี ค.ศ. 2016

       ในทวีปยุโรปเลือกใช้งาน GSM เป็นระบบมาตรฐานของโลก ทั้งๆที่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นผู้ริเริ่มระบบ GSM มาก่อนแต่ไม่ได้พัฒนาระบบ GSM ไว้รองรับกับระบบ DTT เพราะไม่ได้คาดหวังว่าจะพัฒนาระบบ GSM ให้เป็นมาตรฐานโลก แต่ได้พัฒนา ISDB-Tsb เพื่อรองรับระบบ DTT อยู่แล้ว หากญี่ปุ่นจะเปลี่ยนมาใช้ระบบ GSM ซึ่งตนเองเป็นผู้ริเริ่มก็ไม่ทันเสียแล้ว เพราะได้ลงทุนวางระบบ ISDB ทั้งหมดไปแล้ว

      เหตุนี้เองที่ทำให้ระบบ DVB-T แพร่หลายไปได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก เพราะรองรับกับระบบโทรศัพท์ GSM ที่ทุกประเทศมีใช้ทั่วโลก แล้วยังมีราคาถูก ต้นทุนต่ำ สามารถเลือกนำมาใช้งานได้ทันที ( แต่คุณภาพต่ำกว่า HDTV )

      เกาหลีใต้ เริ่มใช้ระบบ DTT ของ ATSC ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001  เพราะได้รับอิทธิพลมาจากอเมริกา แต่เพราะระบบ ATSC ใช้กับระบบเคลื่อนที่ได้ไม่ดี มีการถกเถียงกันระหว่างข้อดีและข้อเสียของระบบ ATSC และ DVB จึงเปลี่ยนมาใช้ระบบ DVB ในปี ค.ศ. 2004  และจะหยุดระบบอนาล็อกในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2012

      จีน เลือกใช้ระบบ DTT  ตั้งแต่ มกราคม ค.ศ. 2008  และเนื่องจากระบบ Cable TV ภายในประเทศจีนเองที่มีความนิยมมาก และใช้แพร่หลายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีข้อดีแตกต่างกัน จึงเกิดการถกเถียงกันจากนักวิชาการของมหาวิทยาลัยชั้นนำ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยชินหัว ต้องการเลือกใช้ระบบ DVB-T  ส่วนมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เลือกระบบ ATSC จึงมีการตกลงที่จะเลือกข้อดีของทั้ง 2 ระบบนำมาพัฒนาขึ้นใหม่ โดยมีนักวิชาการของมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่ง ร่วมกันพัฒนาเป็นระบบ DMB ( Digital Multimedia Broadcasting ) แบบ DMB-T , DMB-C  และ DMB-H  และจะหยุดระบบอนาล็อกภายในปี ค.ศ. 2015
       ประเทศจีนให้บริการโทรทัศน์แบบเก็บค่าบริการรายเดือน เดิมระบบอนาล็อก ( 50 ช่อง ) เสียค่าบริการ 15-20 หยวน / เดือน ( 15 หยวน = 80 บาท ) และ เรียกเก็บเงินจากผู้รับชมระบบ HDTV Digital เป็นเงิน 120 หยวน / เดือน ซึ่งแพงมาก จึงไม่เป็นที่นิยม และสถานีกลาง CCTV จัดรายการเป็นระบบ HDTV แล้วประชาชนไม่นิยม จึงจูงใจให้ประชาชนซื้อเครื่องรับที่เป็นระบบดิจิตอล โดยสามารถรับชมรายการ HDTV ได้แบบไม่ต้องเสียค่าบริการ ( ฟรีค่าธรรมเนียม 6 เดือน 1 ปี )

      ไต้หวัน เลือกใช้ระบบ DTT  ตั้งแต่ กรกฎาคม ค.ศ. 2004  ทั่วประเทศรับคลื่นโทรทัศน์ 85%  จากเดิมมีสถานีโทรทัศน์ออกอากาศ 5 ช่อง แต่มีสถานีเคเบิลทีวีถึง 100 ช่อง  ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอลแล้วจะทำให้สถานีโทรทัศน์เดิม 5 ช่อง สามารถออกอากาศได้เพิ่มขึ้นสถานีละ 3 ช่อง รวมทั้งหมดเกิดสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล 15 ช่อง ซึ่งมีเนื้อหารายการน้อยกว่าระบบเคเบิลทีวีมาก จึงไม่เป็นที่นิยม เพราะประชาชนสามารถเลือกชมเคเบิลทีวีที่มีรายการหลากหลายมากกว่าถึง 100 ช่อง ทำให้ 4 ปีที่ผ่านมาระบบ DVB ไม่ประสบความสำเร็จในประเทศไต้หวัน และยังไม่มีกำหนดการหยุดใช้ระบบอนาล็อก

………………………………………..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น