ระบบโทรทัศน์ (television)
เป็นการการถ่ายทอดเสียงและภาพพร้อมกันจากสถานเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ โดยเครื่องส่งจะเปลี่ยนสัญญาณภาพ และเสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อถ่ายทอดออกไป และเครื่องรับโทรทัศน์ จะเปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลับเป็นสัญญาณภาพ และเสียง
เป็นการการถ่ายทอดเสียงและภาพพร้อมกันจากสถานเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ โดยเครื่องส่งจะเปลี่ยนสัญญาณภาพ และเสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อถ่ายทอดออกไป และเครื่องรับโทรทัศน์ จะเปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลับเป็นสัญญาณภาพ และเสียง
โทรทัศน์อนาล็อก (analog television)
โทรทัศน์อนาล็อกคือ โทรทัศน์ที่มีระบบการรับ ส่งสัญญาณภาพ และเสียงในรูปสัญญาณอนาล็อกแบบเอเอ็ม (AM) และเอฟเอ็ม (FM) ระบบที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันเช่นเช่นโทรทัศน์ที่ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) ระบบพัลล์ (PAL) และซีแคม (SECAM) เป็นต้น
โทรทัศน์อนาล็อกคือ โทรทัศน์ที่มีระบบการรับ ส่งสัญญาณภาพ และเสียงในรูปสัญญาณอนาล็อกแบบเอเอ็ม (AM) และเอฟเอ็ม (FM) ระบบที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันเช่นเช่นโทรทัศน์ที่ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) ระบบพัลล์ (PAL) และซีแคม (SECAM) เป็นต้น
ในประเทศไทย ใช้ระบบ พัล (PAL) กระจายคลื่นในปัจจุบัน ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ประเภทหนึ่ง ย่อมาจาก Phase Alternative Line หรือเรียกว่า ระบบซีซีไออาร์ (CCIR) ซึ่ง เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบโทรทัศน์สีเอ็นทีเอสซี (NTSC) โดยมีการส่ง 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที
โทรทัศน์ดิจิทัล (digital television)
โทรทัศน์ดิจิตอลคือ ระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปดิจิทัล หรือรหัสทางคอมพิวเตอร์ คือส่งข้อมูลเป็นบิต ซึ่งสามารถใช้ช่องสัญญาณที่มีความถี่เดียวกันนำมาส่งเป็นช่องสัญญาณหลายๆช่องร่วมกันได้ การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ จึงเรียกได้อีกอย่างว่ามัลติแคสติ้ง (multicasting) โทรทัศน์ดิจิทัล จะให้คุณภาพของภาพ และเสียงดีกว่าระบบอนาล็อก เช่น ระบบ โทรทัศน์ความคมชัดสูง (High Density Television: HDTV)
โทรทัศน์ดิจิตอลคือ ระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปดิจิทัล หรือรหัสทางคอมพิวเตอร์ คือส่งข้อมูลเป็นบิต ซึ่งสามารถใช้ช่องสัญญาณที่มีความถี่เดียวกันนำมาส่งเป็นช่องสัญญาณหลายๆช่องร่วมกันได้ การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ จึงเรียกได้อีกอย่างว่ามัลติแคสติ้ง (multicasting) โทรทัศน์ดิจิทัล จะให้คุณภาพของภาพ และเสียงดีกว่าระบบอนาล็อก เช่น ระบบ โทรทัศน์ความคมชัดสูง (High Density Television: HDTV)
การแพร่ภาพ (television broadcasting)
หลักการแพร่ภาพเบื้องต้นเกิดจากเครื่องส่งจะส่งสัญญาณภาพ และเสียงออกไปพร้อมกับผสมสัญญาณรวมกับคลื่นวิทยุ ในรูปสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า จากนั้นเครื่องรับจะทำการแยกสัญญาณเพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง การแพร่ภาพโทรทัศน์ ซึ่งจากเดิม ที่เป็นการแพร่ภาพ แบบไม่จำกัด ผู้รับได้รับการพัฒนา มาเป็นแบบแพร่ภาพ เฉพาะทาง เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียม การแพร่ภาพโทรทัศน์ ผ่านสื่อนำสัญญาณเฉพาะสถานที่โดย อาจรวมถึงการแพร่ภาพ ไปถึงเฉพาะผู้รับที่เป็นสมาชิก หรือเคเบิลทีวี (Cable TV)
หลักการแพร่ภาพเบื้องต้นเกิดจากเครื่องส่งจะส่งสัญญาณภาพ และเสียงออกไปพร้อมกับผสมสัญญาณรวมกับคลื่นวิทยุ ในรูปสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า จากนั้นเครื่องรับจะทำการแยกสัญญาณเพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง การแพร่ภาพโทรทัศน์ ซึ่งจากเดิม ที่เป็นการแพร่ภาพ แบบไม่จำกัด ผู้รับได้รับการพัฒนา มาเป็นแบบแพร่ภาพ เฉพาะทาง เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียม การแพร่ภาพโทรทัศน์ ผ่านสื่อนำสัญญาณเฉพาะสถานที่โดย อาจรวมถึงการแพร่ภาพ ไปถึงเฉพาะผู้รับที่เป็นสมาชิก หรือเคเบิลทีวี (Cable TV)
การแพร่ภาพโทรทัศน์ในปัจจุบัน เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลข่าวสารทั้งข้อมูลภาพและเสียง โดยแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ การแพร่ภาพโทรทัศน์แบบอนาล็อก (Analog) และแบบดิจิทัล (Digital) การแพร่ภาพในแต่ละประเภทนี้สามารถรับและส่งข้อมูลได้ในหลายช่องทางเช่น การส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิล การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมและการส่งสัญญาณแพร่ภาพภาคพื้นดินด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งอาจจะมาจากการถ่ายทอดสดหรือจากการบันทึกเทปไว้
รูปแบบการแพร่กระจายคลื่นโทรทัศน์ ในไทยมีรายละเอียด ดังนี้
1. การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
การแพร่กระจายสัญญาณไปในอากาศเมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่ 30-300 MHzจะเป็นช่วงคลื่นความถี่สูงมาก (Very high Frequency: VHF) และช่วงความถี่ 300-3000 MHz จะเป็นช่วงของความถี่สูง (Ultra high Frequency: UHF)
ประเทศไทยใช้ระบบโทรทัศน์ PAL ซึ่งแบ่งแถบคลื่นความถี่ของการใช้งานโทรทัศน์ออกเป็นย่านความถี่ VHF และ ความถี่ UHF โดยที่ย่านความถี่ VHFได้ถูกใช้จนเต็มแล้ว ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่จึงต้องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในย่านความถี่ UHF
1. การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
การแพร่กระจายสัญญาณไปในอากาศเมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่ 30-300 MHzจะเป็นช่วงคลื่นความถี่สูงมาก (Very high Frequency: VHF) และช่วงความถี่ 300-3000 MHz จะเป็นช่วงของความถี่สูง (Ultra high Frequency: UHF)
ประเทศไทยใช้ระบบโทรทัศน์ PAL ซึ่งแบ่งแถบคลื่นความถี่ของการใช้งานโทรทัศน์ออกเป็นย่านความถี่ VHF และ ความถี่ UHF โดยที่ย่านความถี่ VHFได้ถูกใช้จนเต็มแล้ว ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่จึงต้องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในย่านความถี่ UHF
แถบคลื่นความถี่การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย
- สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 - VHF Band-1 ช่อง 3 (ปัจจุบันออกอากาศในระบบ UHF Band-4 ช่อง 32และระบบ Band-5 ช่อง 60)
- สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก - VHF Band-1 ช่อง 5
- สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 - VHF Band-3 ช่อง 7
- สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี - VHF Band-3 ช่อง 9
- สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย - VHF Band-3 ช่อง 11 (ปัจจุบันยังมีสถานีโทรทัศน์เครือข่ายส่วนภูมิภาคออกอากาศเองได้ด้วย)
- สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย - UHF Band-4 ช่อง 29 (รับช่วงในการส่งสัญญาณต่อจากไอทีวีและทีไอทีวี)
(ดิจิตอล ทีวี ของ อสมท. จะเป็นการนำเอาคลื่นความถี่ที่มีอยู่ ในช่อง UHF-58 มาใช้งาน)
2. การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านช่องนำสัญญาณ
การส่งสัญญาณไปตามสายหรือช่องนำสัญญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ ซึ่งต่างจากการแพร่กระจายคลื่นด้วยความถี่วิทยุที่ไม่จำกัดผู้รับ การส่งสัญญาณนี้จะผ่านช่องนำสัญญาณพิเศษแบ่งออกเป็น
การส่งสัญญาณไปตามสายหรือช่องนำสัญญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ ซึ่งต่างจากการแพร่กระจายคลื่นด้วยความถี่วิทยุที่ไม่จำกัดผู้รับ การส่งสัญญาณนี้จะผ่านช่องนำสัญญาณพิเศษแบ่งออกเป็น
- การส่งสัญญาณผ่านสายโคเอคเชี่ยนหรือไฟเบอร์ออฟติค (เคเบิลทีวีท้องถิ่น)
- การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทั้งที่แพร่กระจายคลื่นทั่วไป (จานดำ จานเหลืองม ส้ม ฯลฯ) และระบบบอกรับสมาชิก (UBC)
- โทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต (IPTV) เป็นต้น
การส่งสัญญาณทีวีภาคพื้นดินในแบบดิจิทัล มีระบบหลัก ๆ ได้แก่
1. Advance Television Systems Committee (ATSC) เป็นระบบที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา
2.Digital Video Broadcasting (DVB) เป็นระบบที่ใช้ในยุโรป
3.Integrated Services Digital Broadcasting (ISDB) เป็นระบบที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น
1. Advance Television Systems Committee (ATSC) เป็นระบบที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา
2.Digital Video Broadcasting (DVB) เป็นระบบที่ใช้ในยุโรป
3.Integrated Services Digital Broadcasting (ISDB) เป็นระบบที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น
4. Digital Terrestrial Multimedia Broadcast (DTMB) ถูกพัฒนาขึ้นมาในประเทศจีน
5. ระบบ Handheld Digital TV ถูกพัฒนาขึ้นโดยเป็นการต่อยอดจากระบบโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดิน เพื่อรองรับ ทีวีมือถือ มีหลายระบบ เช่น DVB–H, DVB-SH (ยุโรป), 1seg (ญี่ปุ่น), Media FLO (อเมริกา) T-DMB (เกาหลีใต้), S-DMB (เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น) CMMB (ประเทศจีน), และ 3GPP เป็นต้น
ระบบ ดิจิตอล ทีวี CMMB
CMMB หรือ China Mobile Multimedia Broadcasting มาตรฐานที่ประเทศจีนกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ในประเทศจีน พัฒนาโดยการนำโดย SARFT : State Administration for Radio,Film and Television อยู่บนพื้นฐาน STiMi ( Satellite and Terrestrial interactive multiservice infrastructure ) ประกาศใช้ในปี 2006 กระจายคลื่นจากดาวเทียมและเสริมจุดบอด (Gap filler) ด้วยสถานีภาคพื้นดิน สู่อุปกรณ์รับสัญญาณแบบมือถือ เครื่องรับติดรถยนต์ ที่มีจอแสดงภาพขนาดเล็ก เช่น PDA, Cell Phone
CMMB หรือ China Mobile Multimedia Broadcasting มาตรฐานที่ประเทศจีนกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ในประเทศจีน พัฒนาโดยการนำโดย SARFT : State Administration for Radio,Film and Television อยู่บนพื้นฐาน STiMi ( Satellite and Terrestrial interactive multiservice infrastructure ) ประกาศใช้ในปี 2006 กระจายคลื่นจากดาวเทียมและเสริมจุดบอด (Gap filler) ด้วยสถานีภาคพื้นดิน สู่อุปกรณ์รับสัญญาณแบบมือถือ เครื่องรับติดรถยนต์ ที่มีจอแสดงภาพขนาดเล็ก เช่น PDA, Cell Phone
มาตรฐาน CMMB กำหนดให้ใช้ความถี่ดาวเทียมย่าน S-Band ความถี่ 2.6 GHz แถบความถี่กว้าง 25 MHz สามารถให้บริการ วิดีโอได้ 25 ช่อง และรายการวิทยุ 30 รายการ พร้อมบริการข้อมูลอีกส่วนหนึ่งมาตรฐาน CMMB มีข้อเด่นหลายประการ เช่น เครื่องรับสิ้นเปลืองพลังงานต่ำ การรับระหว่างการเคลื่อนที่ดีมาก คุณภาพการให้บริการ (QOS) อยู่ในขั้นดีมาก การให้บริการจะแบ่งเป็นระดับชาติ(พื้นที่บริการขนาดกว้าง) ให้บริการผ่านดาวเทียม ส่วนระดับท้องถิ่นจะเป็นการให้บริการผ่านสถานีภาคพื้นดิน ในย่าน UHF แบบ SFN ระบบ CMMB มีการทดลองใช้งานในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่โอลิมปิคเกมส์ 2008 และปัจจุบันใช้งานอยู่ประมาณ 150 เมือง
ข้อดีของระบบดิจิตอลทีวี
สามารถรับสัญญาณได้แม้จะอยู่ในรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ทั้งยังมีความทนทานต่อสัญญาณสะท้อนหลายทิศทาง (Multi-path Propagation) ซึ่งจะทำให้ภาพที่รับได้ไม่เกิดเงาซ้อนทับกัน นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile TV)ได้ด้วย ในการส่งโทรทัศน์ระบบดิจิทัลนี้จะทำให้ประหยัดช่องสัญญาณคือ ในหนึ่งช่องรายการที่เป็นอนาล็อก จะสามารถส่งรายการที่เป็นดิจิทัลได้ 4-6 รายการ ซึ่งจะเป็นการใช้ทรัพยากรความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยเทคโนโลยีของ การบีบอัดข้อมูลภาพ (Video Compression) โดยลดอัตราข้อมูลที่ต้องการส่งลง ในระดับไม่ทำให้คุณภาพของภาพเสียไป ก็จะสามารถส่งรายการโทรทัศน์เพิ่มขึ้นอีกเป็น 8-10 รายการ ต่อหนึ่งช่องสัญญาณ จากที่เคยส่งโทรทัศน์ในระบบอนาล็อก ได้เพียงช่องเดียว
ข้อดีอีกประการหนึ่งของการส่งในระบบดิจิทัลคือสามารถใช้ความถี่เดียวในการสร้างเครือข่าย (Single Frequency Network) ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ จึงทำให้สะดวกต่อการรับสัญญาณในกรณีที่เดินทางอยู่ในรถยนต์ นอกจากนี้การรบกวนสัญญาณโทรทัศน์เนื่องจากสัญญาณรบกวนต่างๆ ในช่องสัญญาณจะไม่มีผลกระทบหรือมีน้อยมากเมื่อเทียบกับระบบอนาล็อก ซึ่งในสัณญานส่งไปก็จะมีการเข้ารหัส (Encode) และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดของบิตข้อมูล FEC (Forward Error Correction) ซึ่งจะทำให้การกู้คืนข้อมูล ที่สูญเสียในระหว่างการส่งนั้น สามารถทำได้ที่เครื่องรับ นอกจากนั้น ความคมชัดของการรับสัญญาณในพื้นที่การให้บริการ จะเท่ากันตลอด ซึ่งต่างจากกรณีของระบบ อนาล็อก ที่คุณภาพของสัญญาณที่รับได้จะค่อยๆ ลดลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น
ข้อดีอีกประการหนึ่งของการส่งในระบบดิจิทัลคือสามารถใช้ความถี่เดียวในการสร้างเครือข่าย (Single Frequency Network) ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ จึงทำให้สะดวกต่อการรับสัญญาณในกรณีที่เดินทางอยู่ในรถยนต์ นอกจากนี้การรบกวนสัญญาณโทรทัศน์เนื่องจากสัญญาณรบกวนต่างๆ ในช่องสัญญาณจะไม่มีผลกระทบหรือมีน้อยมากเมื่อเทียบกับระบบอนาล็อก ซึ่งในสัณญานส่งไปก็จะมีการเข้ารหัส (Encode) และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดของบิตข้อมูล FEC (Forward Error Correction) ซึ่งจะทำให้การกู้คืนข้อมูล ที่สูญเสียในระหว่างการส่งนั้น สามารถทำได้ที่เครื่องรับ นอกจากนั้น ความคมชัดของการรับสัญญาณในพื้นที่การให้บริการ จะเท่ากันตลอด ซึ่งต่างจากกรณีของระบบ อนาล็อก ที่คุณภาพของสัญญาณที่รับได้จะค่อยๆ ลดลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น
อุปกรณ์เครื่องรับทีวีดิจิตอล
เครื่องรับทีวีดิจิตอล แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
1. เครื่องรับทีวีตั้งโต๊ะ แบบที่ใช้ตามบ้านทั่วไป จอภาพแสดงผลส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มจอแบนและจอกว้าง ที่แสดงภาพได้คมชัดมีความละเอียดสูงเช่น แบบพลาสมา แอลซีดี หรือแอลอีดี เป็นต้น ส่วนใหญ่มีขนาดตั้งแต่ 32 “ ขึ้นไปและเครื่องรับจะต้องมีภาครับที่เป็นระบบดิจิตอล อยู่ภายใน
2. เครื่องรับทีวีดิจิตอลแบบพกพา เป็นเครื่องรับขนาดเล็กสามารถพกพาได้ ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ ขนาดเครื่องมีตั้งแต่ประมาณ 3” ขึ้นไป และอาจมีฟังก์ชั่นใช้งานอื่นๆร่วมด้วยเช่น ดูหนัง ดูภาพ ฟังเพลง MP3 อ่านเอกสาร หรือมีระบบนำทาง GPS ร่วมด้วย เป็นต้น
3. เครื่องรับทีวีดิจิตอลแบบติดตั้งในรถยนต์ ลักษณะคล้ายแบบพกพา ซึ่งอาจติดตั้งตายตัวในรถยนต์หรือถอดพกพาได้ และต้องมีการติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ในรถยนต์
4. เครื่องรับแบบกล่องแปลงระบบอนาล็อกเป็นดิจิตอล (Converter Box) เป็นเครื่องรับทีวีดิจิตอลขนาดเล็ก ใช้งานร่วมกับเครื่องรับทีวีแบบอนาล็อกรุ่นเก่า โดยทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิตอลเข้ามา แล้วแล้วเป็นสัญญาณอนาล็อก ป้อนผ่านสายเข้าไปยังเครื่องรับทีวีเดิม ละควบคุมการเปลี่ยนช่องผ่านทางรีโมทได้เหมือนทีวีปรกติ ซึ่งอุปกรณ์นี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่ต้องการเปลี่ยนเครื่องรับทีวีใหม่ แต่ต้องการรับชมทีวีดิจิตอล และเป็นกลุ่มผู้ใช้จำนวนมากทั่วประเทศ
5. เครื่องรับที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ (Dongle TV) เป็นเครื่องรับทีวีดิจิตอลขนาดเล็กมีเสาอากาศขนาดเล็ก ใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือ NoteBook ผ่านทางช่อง USB โดยใช้ไฟและแสดงผลร่วมกับจอคอมพิวเตอร์
6. เครื่องรับแบบ Set Top Box เป็นกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี โดยเฉพาะ ใช้งานโดยต่อเชื่อมเข้ากับเครื่องรับทีวีอนาล็อกหรือดิจิตอล ส่วนใหญ่ใช้กับระบบทีวีแบบสมาชิก เช่น UBC ที่ต้องมี Smart Card ร่วมด้วย
7. เครื่องโทรศัพท์มือถือที่มีดิจิตอลทีวี ลักษณะเป็นเครื่องโทรศัพท์มือถือทั่วไป อาจเป็นระบบ GSM, 3G หรือ CDMA แต่เพิ่มภาครับดิจิตอลทีวีเข้าไป หน้าจอแสดงผลหลายขนาด มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่น มีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก บางรุ่นสามารถรับสัญญาณอนาล็อกทีวีได้ด้วย
การเลือกใช้เครื่องรับดิจิตอลทีวี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการใช้งานแบบต่างๆ และที่สำคัญคือ จะต้องเลือกซื้อเครื่องในระบบที่สอดคล้องกับผู้ให้บริการ คือสถานีส่งทีวีกระจายคลื่นในระบบใด เครื่องรับจะต้องมีคุณสมบัติสอดคล้องกันด้วย และผู้ให้บริการ อาจมีการใช้ระบบการรับสัญญาณเฉพาะกลุ่มของตน หรือต้องใช้เครื่องเฉพาะ โดยการใช้ระบบและ Software ควบคุมการเข้าถึงสัญญาณผ่านทางเครื่องรับทีวีโดยตรง, Smart card, SIM Card หรือทาง Memory card เป็นต้น
ตัวอย่างบางส่วน บริการทีวีประเภทต่างๆในไทย | ||||
รูปแบบบริการ | อนาล็อก ทีวี | ดิจิตอล ทีวี | ราคาประมาณ | จำนวนช่องบริการประมาณ |
ฟรี ทีวี | ช่อง 3, 5, 7, 9, 11, TV Thai | ช่อง3 (ทดสอบใช้ระบบ DVB-T ) | ||
ดาวเทียม จานใหญ่ดำ1.8 m. C Band | ค่าจานและเครื่องรับ ~8,000-15,000 | ~100-150 | ||
ดาวเทียมจานเหลือง, ส้ม (จานเล็ก | ค่าจานและเครื่องรับ ~3500 | ~80 | ||
อสมท. | … | Free TV+ 6ช่อง | ||
แบบสมาชิก | เคเบิลทีวีท้องถิ่น (ใช้สายโคแอค) | เคเบิลทีวีท้องถิ่น (ใช้สายโคแอคหรือไฟเบอร์) | ค่าบริการ 100-400/ด. ตามPackage | ~80 |
UBC ดาวเทียมจานแดง | ค่าบริการ ~350-1500/ด. ตามPackage | ~90 | ||
IPTV ผ่านทาง Internet | ... | |||
3G TV ผ่านระบบโทรศัพท์ มือถือ 3G | ... |
ดิจิตอล ทีวี อสมท.
การส่งสัญญาณภาพทีวี ซึ่งมีความคมชัดสูง หรือดิจิตอล ทีวี จะเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงผู้คนได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ได้ อย่างดีเยี่ยม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในต่างประเทศที่มีการใช้บริการทีวีระบบดิจิตอล
ดิจิตอล ทีวี ของ อสมท. จะเป็นการนำเอาคลื่นความถี่ที่มีอยู่ ในช่อง UHF-58 มาใช้ ออกอากาศ เชิงธุรกิจ ครอบคลุมทั้งในส่วนอุปกรณ์แบบพกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ติดตั้งทั้งในรถยนต์ และที่อยู่อาศัย ให้บริการโดยตรงในระบบดิจิตอล ซึ่งจะไม่ผ่านเครือข่ายโอเปอเรเตอร์ของโทรศัพท์มือถือ ในช่วงแรก จะออกอากาศครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยจะขายพื้นที่การให้บริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ในระยะเวลาต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น